วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

What is Accounting ?



การบัญชีคืออะไร? (What is Accounting?)


สมาคมนักบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตในสหรัฐอเมริกา(The American Institute of Certified Public Accountants – AICPA) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ว่า “การบัญชีเป็นศิลปะของการจดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเงินไว้ในรูปของเงินตรา การจัดหมวดหมู่ของรายการที่บันทึก การสรุปผลและการวิเคราะห์ความหมายของรายการที่ได้จดบันทึกไว้ โดยจัดทำในรูปของรายงานทางการเงิน”

สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ว่า “การบัญชี คือ ศิลปะของการเก็บรวมรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ”

จากความหมายของการบัญชีของทั้งสองสถาบัน เราสามารถสรุปได้ว่า การบัญชีก็คือ การเก็บรวบรวม การจดบันทึก การจำแนก และการสรุปผลรายการทางการเงินที่เกิดขึ้นในรูปของตัวเงิน รวมทั้งการวิเคราะห์ และแปลความหมายผลสรุปนั้นด้วย

จากความหมายของการบัญชีดังกล่าว เราสามารถสรุปขั้นตอนของการบัญชีได้ ดังนี้

1. การเก็บรวมรวม (Gathering)
2. การจดบันทึก (Recording)
3. การจำแนก (Classifying)
4. การสรุปผล (Summarizing)
5. การวิเคราะห์และแปลความหมาย (Analysis and Interpreting)

นอกจากคำว่า “การบัญชี (Accounting)” แล้วยังมีคำอีกคำหนึ่งซึ่งมักมีการเข้าใจผิดว่าเป็นคำคำเดียวกันนั่นคือคำว่า “การทำบัญชี (Book keeping)” ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่คำเดียวกันแต่มีความใกล้เคียงกัน โดยการทำบัญชีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบัญชีเท่านั้น โดยการทำบัญชีเป็นเพียงการจดบันทึกรายการลงในสมุดบัญชี จำแนกรายการบัญชี และสรุปรายการบัญชีโดยจัดทำงบการเงินเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบันทึกรายการทั้งหมดนี้เราเรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Book keeper) แต่การบัญชีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การออกแบบระบบบัญชี การวางรูปบัญชี การบันทึกบัญชี การรายงานทางบัญชี การวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชี และการสอบบัญชี โดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานทั้งหมดดังกล่าวนี้ เราเรียกว่า “นักบัญชี (Accountant)

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี (The Purpose of Accounting)

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี คือ เพื่อบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของกิจการ จำแนก และสรุปผลเพื่อให้ได้ข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าของกิจการ หรือบุคคลอื่น ๆ เช่น เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐบาล หรือบุคคลที่สนใจ

ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี (The Benefits of Accounting)

1. ทำให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุม และดูแลรักษาสินทรัพย์ของกิจการที่มีอยู่ไม่ให้สูญหาย

2. ทำให้ผู้บริหารกิจการมีข้อมูลเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจบริหารกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทำให้ผู้บริหาร และเจ้าของกิจการผลการดำเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการได้อย่างถูกต้อง

4. ทำให้บุคคลภายนอกกิจการสามารถมีข้อมูลทางการบัญชีของกิจการ เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ

ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี (Users of Accounting Information)

1. เจ้าของกิจการ (The Owner)
2. ผู้บริหาร (Manager)
3. เจ้าหนี้หรือแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ (Creditors)
4. นักลงทุน (Investors)
5. ลูกค้าและซัพพลายเออร์ (Customers and Suppliers)
6. พนักงานหรือลูกจ้าง (Employees)
7. คู่แข่ง (Competitors)
8. รัฐบาลและหน่วยงานราชการ (Government Agencies)
9. บุคคลทั่วไป

จะเห็นได้ว่าผู้ที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการมีด้วยกันมากมายหลายฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ต้องการข้อมูลที่แตกต่างกันไป โดยเราจะแบ่งผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีได้เป็น 2 ฝ่ายใหญ่ ๆ คือ ฝ่ายผู้ใช้ภายในกิจการ (Internal Users) อันได้แก่ เจ้าของและผู้บริหารกิจการ กับฝ่ายผู้ใช้ภายนอกกิจการ (External Users) อันได้แก่ เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน หน่วยงานรัฐบาล และอื่น ๆ ดังนั้นข้อมูลทางการบัญชีเราจึงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนเช่นเดียวกัน คือข้อมูลทางการบัญชีที่นำเสนอแก่ผู้ใช้ภายในกิจการเราเรียกว่า การบัญชีบริหารหรือการบัญชีเพื่อการจัดการ (Managerial Accounting) กับข้อมูลทางการบัญชีที่นำเสนอแก่ผู้ใช้ภายนอกกิจการเราเรียกว่า การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)

การแบ่งส่วนทางการบัญชี

1. การบัญชีส่วนย่อย (Micro Accounting) คือ ระบบบัญชีที่จัดวางไว้สำหรับการรวบรวม บันทึก วิเคราะห์และเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของแต่ละหน่วยธุรกิจ ซึ่งการบัญชีส่วนย่อยนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.1. การบัญชีส่วนย่อยที่มุ่งหาผลกำไร (Profit Motive Accounting)
1.2. การบัญชีส่วนย่อยที่มิได้มุ่งหาผลกำไร (Non-Profit Motive Accounting)

2. การบัญชีส่วนรวม (Macro Accounting) คือ ระบบบัญชีที่จัดวางไว้สำหรับรวบรวม บันทึก วิเคราะห์ และเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจส่วนรวมของชาติ เช่น ระบบบัญชีรายได้และผลิตภัณฑ์ประชาชาติ บัญชีงบดุลประชาชาติ ระบบบัญชีวางแผนเศรษฐกิจ ระบบเงินหมุนเวียนของชาติ และระบบบัญชีดุลการชำระหนี้ระหว่างประเทศ เป็นต้น

งานในวิชาชีพบัญชี (Careers in Accounting)

งานในวิชาชีพบัญชีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.งานบัญชีของธุรกิจ (Private Accounting)
2. งานบัญชีสาธารณะ (Public Accounting)
3. งานบัญชีของรัฐบาล (Governmental Accounting)

สถาบันวิชาชีพทางการบัญชีในประเทศไทย

1. สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
2. คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.)

แนวความคิดและหลักการบัญชี
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้กำหนดข้อสมมุติทางการบัญชีไว้ในแม่บทการบัญชี 2 ข้อ คือ

1. เกณฑ์คงค้าง

งบการเงินจัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์คงค้างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังที่กล่าวมา แล้วภายใต้เกณฑ์คงค้าง รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีจะรับรู้เมื่อเกิดขึ้นมิใช่เมื่อมีการรับหรือ จ่ายเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด โดยรายการต่าง ๆ จะบันทึกบัญชีและแสดงในงบการเงินตามงวดที่เกี่ยวข้อง งบการเงินที่จัดทำขึ้นตามเกณฑ์คงค้างนอกจากจะให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้งบการเงิน เกี่ยวกับรายการค้าในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการรับและจ่ายเงินสดแล้ว ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาระผูกพันที่กิจการต้องจ่ายเป็นเงินสดในอนาคตและ ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่จะได้รับเป็นเงินสดในอนาคตด้วย ดังนั้น งบการเงินจึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีในอดีตซึ่ง เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ

2. การดำเนินงานต่อเนื่อง

โดยทั่วไปงบการเงินจัดทำขึ้นตามข้อสมมติที่ว่ากิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ดังนั้น จึงสมมุติว่ากิจการไม่มีเจตนาหรือมีความจำเป็นที่จะเลิกกิจการหรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ หากกิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นดังกล่าว งบการเงินต้องจัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์อื่นและต้องเปิดเผยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในงบการเงินด้วย

นอกจากข้อสมมุติทางการบัญชีที่ได้กล่าวมาแล้ว สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ยังได้กำหนดลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินไว้ในแม่บทการบัญชีอีก 14 ข้อ ดังนี้

1. ความเข้าใจได้
2. ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
3. ความมีนัยสำคัญ
4. ความเชื่อถือได้
5. การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม
6. เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ
7. ความเป็นกลาง
8. ความระมัดระวัง
9. ความครบถ้วน
10. การเปรียบเทียบกันได้
11. ทันต่อเวลา
12. ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป
13. ความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพ
14. การแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร

งวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชี (Accounting Period)

คำว่างวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชี หมายถึง การที่กิจการจะทำการบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในงวดเวลาหรือรอบระยะเวลาที่กำหนด หลังจากนั้นก็จะสรุปออกมาว่าในงวดเวลานั้นกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร และในวันสิ้นงวดเวลานั้นกิจการมีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร โดยงวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะเป็นระยะเวลาเท่าไรก็ได้แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี และถ้าหากงวดบัญชีของกิจการเป็น 1 ปี งวดบัญชีนั้นจะเริ่มต้นเมื่อไรก็ได้ จะเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม เหมือนปีปฏิทินหรือไม่ก็ได้

ประเภทของธุรกิจ (Types of Business)

เราสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจที่เป็นธุรกิจที่มุ่งแสวงหากำไรออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ธุรกิจบริการ (Service Businesses) เป็นธุรกิจที่มีรายได้เกิดขึ้นจากการให้บริการ ซึ่งบริการนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เช่น สวนสนุก หอพัก กิจการรถเช่า โรงภาพยนตร์ คลินิก โรงแรม รถประจำทาง เป็นต้น

2. ธุรกิจซื้อขายสินค้า (Merchandising Businesses) หรือ ธุรกิจพาณิชยกรรม เป็นธุรกิจที่มีการดำเนินธุรกิจโดยการซื้อสินค้าเข้ามาแล้วขายสินค้านั้นออกไปในราคาที่สูงกว่าเดิม โดยไม่มีการแปรรูปหรือแปลงสภาพสินค้าแต่อย่างใด เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เกต บริษัทขายรถยนต์ เป็นต้น

3. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing Businesses) หรือ ธุรกิจผลิตสินค้า เป็นธุรกิจที่มีการดำเนินการผลิตสินค้า คือมีการแปรรูปวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วขายออกไป ธุรกิจประเภทนี้ได้แก่ โรงงานผลิตรถยนต์ โรงงานกระเบื้อง โรงงานทอผ้า เป็นต้น

รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ (Types of Business Organizations)

ธุรกิจทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาแล้ว สามารถเลือกดำเนินธุรกิจ 3 รูปแบบ คือ

1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Individual Proprietorship)
2. กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership)
3. บริษัทจำกัด (Limited Company)

สมการบัญชี (Accounting Equation)
เพื่อให้ศึกษาวิชาการบัญชีได้เข้าใจและง่ายขึ้น เราจะมาเริ่มต้นกันที่การรู้จักสมการบัญชี ซึ่งสมการบัญชีคือ

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

จะเห็นได้ว่าในสมการบัญชีมีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ทั้งหมด 3 คำ คือคำว่า สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ เราจะมาทำความเข้าใจกับคำทั้งสามคำนี้ก่อน

สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าที่วัดได้เป็นตัวเงินที่กิจการเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น เงินสด รถยนต์ สัมปทาน เป็นต้น เราสามารถจำแนกสินทรัพย์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ 4 ประเภท ดังนี้

1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่เป็นเงินสด หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 รอบระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจหรือ 1 ปี ได้แก่

1.1 เงินสด (Cash) หมายถึง ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ที่กิจการมีอยู่ในมือ และรวมถึงเช็คที่ถึงกำหนดได้รับเงินแล้วแต่กิจการยังไม่ได้นำไปขึ้นเงินหรือนำฝากธนาคาร ดราฟท์ ธนานัติ แคชเชียร์เช็ค เป็นต้น

1.2 เงินฝากธนาคาร (Cash in Bank or Deposit) หมายถึง บัญชีเงินฝากธนาคารที่กิจการมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ

1.3 เงินลงทุนระยะสั้น (Short-term Investment) หมายถึง การที่กิจการได้นำเงินที่มีอยู่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ หรือสินทรัพย์อื่น เช่น ทองคำ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเก็งกำไรในระยะสั้น ๆ แล้วขายคืนภายใน 1 ปี

1.4 ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) หมายถึง จำนวนเงินที่ลูกค้ามีภาระผูกพันที่จะต้องชดใช้ให้กับกิจการในอนาคตข้างหน้าอันเนื่องมาจากธุรกิจการค้า

1.5 ตั๋วเงินรับ (Notes Receivable) หมายถึง เอกสารหรือสัญญาที่ลูกค้าหรือลูกหนี้ได้ออกให้แก่กิจการเพื่อใช้เป็นเอกสารในการเรียกเก็บเงินภายหลัง เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็คลงวันที่ล่วงหน้า เป็นต้น

1.6 สินค้าคงเหลือ (Inventories) หมายถึง สินค้าสำเร็จรูป งานระหว่างผลิต วัตถุดิบ ที่มีไว้เพื่อจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อใช้ในการผลิต แต่ยังไม่ได้จำหน่ายออกไปจากกิจการ ยังคงเหลืออยู่ในกิจการ

1.7 ลูกหนี้อื่น ๆ (Other Receivables) หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากเหตุการณ์อื่นที่ไม่ใช่เกิดจากการดำเนินธุรกิจตามปกติของกิจการ เช่น เกิดจากการกู้ยืม เป็นต้น

1.8 รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) หมายถึง รายได้อื่น ๆ ที่ไม่เป็นรายได้จากการดำเนินธุรกิจตามปกติของกิจการที่กิจการควรจะได้รับ แต่ยังไม่ได้รับ เช่น ดอกเบี้ยค้างรับ เป็นต้น

1.9 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินไปก่อน โดยที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากเงินที่จ่ายไปนั้น เช่น ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า เป็นต้น

1.10 วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการที่มีลักษณะที่ใช้แล้วหมดไปภายใน 1 ปี เช่น น้ำมันหล่อลื่น ด้าย ผงซักฟอก เป็นต้น และถ้าหากวัสดุสิ้นเปลืองนั้นใช้ในสำนักงาน ก็จะถูกเรียกว่า วัสดุสำนักงาน (Office Supplies) เช่น ปากกา ดินสอ ลวดเย็บกระดาษ เป็นต้น

2. เงินลงทุนระยะยาว (Long-term Investment) หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนในอนาคตข้างหน้า โดยตั้งใจจะลงทุนเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 1 ปี

3. สินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนและมีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี ที่กิจการมีไว้เพื่อที่จะใช้ผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อที่จะก่อให้เกิดรายได้กับกิจการ ตัวอย่างของสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ที่ดิน อาคาร รถยนต์ เครื่องจักร เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากสินทรัพย์ที่มีตัวตนและมีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี แต่ไม่ได้มีไว้ในเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการของกิจการ ก็ไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ถาวร เช่น หากกิจการเป็นกิจการขายรถยนต์ รถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายก็ไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ถาวร แต่จะถือว่าเป็นสินค้าคงเหลือ หรือหากกิจการซื้อที่ดินไว้เพื่อการเก็งกำไร โดยหากราคาของที่ดินสูงขึ้นจะขายที่ดินแปลงนี้ออกไป ที่ดินแปลงนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ถาวร แต่จะถือว่าเป็นเงินลงทุนระยะยาว เป็นต้น

4. สินทรัพย์อื่น (Other Assets) หมายถึงสินทรัพย์อื่นที่นอกเหนือจากสินทรัพย์ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้ง 3 ประเภท ในทางบัญชีสินทรัพย์อื่นนี้จะหมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น สัมปทาน สิทธิบัตร เป็นต้น ซึ่งสินทรัพย์อื่นนี้จะมีอายุการใช้ประโยชน์เกิน 1 ปี



หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลหรือกิจการอื่น ซึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนให้กับบุคคลหรือกิจการเหล่านั้นในอนาคตข้างหน้า หนี้สินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่กิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ได้แก่

1.1 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (Bank Overdraft) หมายถึง เงินที่กิจการเบิกเกินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งธนาคารยอมให้เบิกเกินบัญชีไปก่อนในระยะสั้น ๆ ซึ่งกิจการจะต้องชำระคืนธนาคารในอนาคต

1.2 เงินกู้ยืมธนาคารระยะสั้น (Short-term Bank Loan) หมายถึง การที่กิจการได้ทำสัญญาตกลงกับธนาคารในการกู้ยืมเงินจำนวนหนึ่ง โดยที่มีกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี

1.3 เจ้าหนี้การค้า (Account Payable) หมายถึงจำนวนเงินที่กิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระให้กับบุคคลหรือกิจการอื่นเป็นค่าสินค้าหรือบริการที่กิจการซื้อมาเป็นเงินเชื่อ

1.4 ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable) หมายถึง เอกสารที่กิจการออกให้กับบุคคลหรือกิจการ เพื่อเป็นสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดตามเอกสารนั้น กิจการจะจ่ายเงินให้กับผู้ที่ถือเอกสาร ในจำนวนเงินตามเอกสารนั้น

1.5 รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Revenue) หมายถึง รายได้ที่กิจการได้รับเงินมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ซึ่งจะมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าในอนาคตเนื่องจากได้รับเงินมาแล้ว

1.6 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ครบกำหนดที่จะต้องจ่ายแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงิน และกิจการยังไม่เคยรับรู้และมีการบันทึกบัญชีมาก่อน จนถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ เช่น ค่าเช่าค้างจ่าย ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย เป็นต้น

1.7 เจ้าหนี้อื่น (Other Payable) หมายถึง ภาระผู้พันที่กิจการจะต้องชำระหนี้ให้กับบุคคลหรือกิจการอื่น ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า เช่น เจ้าหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมระยะสั้นที่ไม่ไช่ธนาคาร เป็นต้น

2. หนี้สินระยะยาว (Long-term Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการจะต้องชำระคืนบุคคลหรือกิจการอื่น ที่มีระยะเวลาการชำระคืนเกิน 1 ปี แต่ถ้าหากหนี้สินระยะยาวใดที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปีข้างหน้า หนี้สินระยะยาวจำนวนนั้น จะถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน ตัวอย่างเช่น กิจการกู้เงินกู้ระยะยาวจากธนาคารจำนวน 1,000,000 บาท มีกำหนดชำระคืนเงินต้น 10 ปี ปีละ 100,000 บาท เริ่มชำระคืนเงินต้นปีหน้านี้เป็นปีแรก ดังนั้น เงินจำนวน 100,000 บาท ที่จะต้องชำระคืนในปีหน้า จะถือว่าเป็นหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินระยะยาวจะเป็นจำนวนเงินเพียงแค่ 900,000 บาท หนี้สินระยะยาวแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

2.1 หุ้นกู้ (Bonds Payable) หมายถึง การที่กิจการกู้เงินจากบุคคลภายนอก โดยออกหุ้นกู้ไว้ให้เป็นหลักฐาน ซึ่งกิจการจะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นกู้ในรูปของดอกเบี้ย ซึ่งหุ้นกู้นี้มักจะมีกำหนดการไถ่ถอนมากกว่า 1 ปีและเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว กิจการก็จะต้องนำเงินไปชำระคืนให้กับผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งเราเรียกว่าการไถ่ถอนหุ้นกู้นั้นเอง

2.2 เงินกู้ระยะยาวโดยมีการจำนอง หรือเงินกู้จำนอง (Mortgage Loan) หมายถึง การที่กิจการได้ทำการกู้ยืมเงินจากบุคคลหรือกิจการหรือสถาบันการเงิน โดยการนำสินทรัพย์ถาวรของกิจการไปจำนองกับผู้ให้กู้ไว้เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ และเงินกู้นั้นมีกำหนดชำระคืนเงินต้นเกิน 1 ปีขึ้นไป

2.3 เงินกู้ระยะยาวโดยไม่มีการจำนอง หรือเงินกู้ระยะยาว (Long-term Loan) หมายถึง การที่กิจการได้ทำการกู้ยืมเงินกู้ระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการหรือสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ไปค้ำประกัน และเงินกู้นั้นมีกำหนดชำระคืนเงินต้นเกิน 1 ปีขึ้นไป

ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) หรือบางทีอาจจะเรียกว่า ทุน (Proprietorship) หมายถึง มูลค่าของสินทรัพย์ทีเจ้าของกิจการเป็นเจ้าของโดยปราศจากการมีหนี้สินทึ่จะต้องชำระคืนในอนาคต ส่วนของเจ้าของของกิจการที่ดำเนินงานแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกัน ดังนี้

1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Individual Proprietorship) สำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว ส่วนของเจ้าของคือสินทรัพย์ที่เจ้าของกิจการนำมาลงทุนในกิจการเป็นครั้งแรก ซึ่งจะเรียกว่า “ทุน” ทุนจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากผลการดำเนินงานของกิจการที่มีกำไร หรือจากการที่เจ้าของกิจการนำสินทรัพย์มาลงทุนเพิ่มเติม และทุนจะมีจำนวนลดลงจากผลการดำเนินงานของกิจการที่ขาดทุน หรือจากการที่เจ้าของกิจการได้ถอนทุนคืนไป

2. กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership) สำหรับกิจการห้างหุ้นส่วน ส่วนของเจ้าของจะเรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น” ซึ่งจะประกอบไปด้วยทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน และทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับส่วนแบ่งกำไร หรือมีการลงทุนเพิ่ม และทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะลดลงเมื่อได้รับส่วนแบ่งการขาดทุน หรือเมื่อมีการถอนทุนคืน

3. กิจการบริษัทจำกัด (Limited Company) สำหรับกิจการบริษัทจำกัด ส่วนของเจ้าของจะเรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น” ซึ่งจะประกอบไปด้วย ทุนเรือนหุ้นไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ ซึ่งคือจำนวนเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายหุ้นในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และกำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม ซึ่งหมายถึงผลการดำเนินงานที่สะสมมาในแต่ละปีตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการ

จากสมการบัญชี

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ


ทำให้เราเข้าใจได้ว่าสินทรัพย์ซึ่งเป็นของกิจการนั้นประกอบไปด้วยแหล่งที่มา 2 แหล่ง ก็คือมาจากการกู้ยืมหรือเป็นหนี้บุคคลหรือกิจการอื่นซึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนในอนาคต (หนี้สิน) และอีกแหล่งคือเป็นของกิจการเองโดยไม่มีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนในอนาคต (ส่วนของเจ้าของ)

งบการเงิน (Financial Statement)

งบการเงิน คือ งบที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการตลอดจนฐานะทางการเงินของกิจการ งบการเงินประกอบด้วย

1. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งว่ากิจการมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร กำไรหรือขาดทุน ดังนั้น รายการที่แสดงในงบกำไรขาดทุนนี้จึงเป็นเฉพาะรายได้ และรายการค่าใช้จ่ายของกิจการ

2. งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่ากิจการมีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร ดังนั้นรายการที่แสดงในงบดุลนี้ จึงเป็นรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ โดยสินทรัพย์ของกิจการจะต้องเท่ากับจำนวนรวมหนี้สินของกิจการกับส่วนของเจ้าของของกิจการ ตามสมการบัญชี

รูปแบบของงบการเงิน

"งบการเงินทั้งงบกำไรขาดทุนและงบดุล มีด้วยกัน 2 รูปแบบคือแบบรายงาน และแบบบัญชี"


การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน (Report Form)

1. เขียนหัวของงบกำไรขาดทุน 3 บรรทัดให้อยู่กลางกระดาษ ซึ่งประกอบไปด้วย

- บรรทัดที่ 1 ชื่อกิจการ

- บรรทัดที่ 2 คำว่า “งบกำไรขาดทุน”

- บรรทัดที่ 3 รอบระยะเวลาในการทำงบกำไรขาดทุน และวันที่สิ้นสุด

2. เขียนคำว่า “รายได้” แล้วนำบัญชีหมวดรายได้มาใส่ในงบกำไรขาดทุน หากรายได้มีมากกว่า 1 รายการให้แสดงการรวมยอดรายได้ทั้งหมดด้วย

3. เขียนคำว่า “ค่าใช้จ่าย” แล้วนำบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายได้มาใส่ในงบกำไรขาดทุน หากค่าใช้จ่ายมีมากกว่า 1 รายการให้แสดงการรวมยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดด้วย

4. หาผลต่างระหว่างยอดรวมของรายได้ กับยอดรวมของค่าใช้จ่าย หากรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ผลต่างนี้เรียกว่า “กำไรสุทธิ” แต่หากรายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย ผลต่างนี้เรียกว่า “ขาดทุนสุทธิ”

ตัวอย่างงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน



การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชี (Account Form)

1. เขียนหัวของงบกำไรขาดทุน 3 บรรทัดให้อยู่กลางกระดาษ ซึ่งประกอบไปด้วย

- บรรทัดที่ 1 ชื่อกิจการ

- บรรทัดที่ 2 คำว่า “งบกำไรขาดทุน”

- บรรทัดที่ 3 รอบระยะเวลาในการทำงบกำไรขาดทุน และวันที่สิ้นสุด

2. แบ่งกระดาษออกเป็น 2 ด้าน

3. นำบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายไว้ทางด้านซ้ายมือ และบัญชีหมวดรายได้ไว้ทางด้านขวามือ

4. หาผลต่างของรายได้กับค่าใช้จ่าย และทำให้ยอดรวมของทั้ง 2 ด้านเท่ากัน


ตัวอย่าง งบกำไรขาดทุนแบบบัญชี



การจัดทำงบดุลแบบรายงาน (Report Form)

1. เขียนหัวของงบดุล 3 บรรทัดให้อยู่กลางกระดาษ ซึ่งประกอบไปด้วย

- บรรทัดที่ 1 ชื่อกิจการ

- บรรทัดที่ 2 คำว่า “งบดุล”

- บรรทัดที่ 3 วันที่ที่จัดทำงบดุล

2. เขียนคำว่า “สินทรัพย์” ไว้กลางหน้ากระดาษ แล้วให้นำบัญชีหมวดสินทรัพย์มาใส่ และรวมยอดสินทรัพย์ทั้งหมด

3. เขียนคำว่า “หนี้สินและส่วนของเจ้าของ” ไว้กลางหน้ากระดาษ แล้วให้นำบัญชีหมวดหนี้สินมาใส่ และรวมยอดหนี้สินทั้งหมด ต่อจากนั้นให้นำบัญชีหมวดส่วนของเจ้าของมาใส่และรวมยอดส่วนของเจ้าของ และรวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งยอดรวมของหนี้สินและส่วนของเจ้าของจะต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์

ตัวอย่าง งบดุลแบบรายงาน




การจัดทำงบดุลแบบบัญชี (Account Form)

1. เขียนหัวของงบดุล 3 บรรทัดให้อยู่กลางกระดาษ ซึ่งประกอบไปด้วย

- บรรทัดที่ 1 ชื่อกิจการ

- บรรทัดที่ 2 คำว่า “งบดุล”

- บรรทัดที่ 3 วันที่ที่จัดทำงบดุล

2. แบ่งกระดาษออกเป็น 2 ด้าน

3. นำบัญชีหมวดสินทรัพย์ไว้ทางด้านซ้ายมือ และบัญชีหมวดหนี้สินและส่วนของเจ้าของไว้ทางด้านขวามือ

4. ยอดรวมของทั้งสองด้านจะต้องเท่ากัน

ตัวอย่าง งบดุลแบบบัญชี


วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ศัพท์องค์การอุตสาหกรรม

ศัพท์องค์การอุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์และกฎหมายแข่งขัน
สำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
Glossary of Industrial Organization กลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมระบบฯ
Economics and Competition Law
1. Abuse of Dominant Position (การใช้สถานะการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดในการจำกัดการ แข่งขัน)
พฤติกรรมทางการค้าที่จำกัดการแข่งขันโดยบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด เพื่อที่จะรักษาหรือเพิ่มสถานะใน
ตลาด ซึ่งถือว่าเป็น "การใช้ประโยชน์จากการมีอำนาจเหนือตลาดโดยไม่เหมาะสมหรือมิชอบ" เพื่อควบคุมตลาด และ
มุ่งหมายที่จะจำกัดการแข่งขันพฤติกรรมทางการค้า ที่ถือว่าเป็นการใช้อำนาจในการจำกัดหรือกีดกันการแข่งขัน จะ
เปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม อาจรวมถึงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ การตั้งราคาสูงเกินไป (excess prices) การ
เลือกปฏิบัติด้านราคา (price discrimination) การขายสินค้าตัดราคา (predatory pricing) การสร้างเงื่อนไขที่ไม่เป็น
ธรรมด้านราคาโดยบริษัทที่รวมตัวกัน (price squeezing by integrated firms) การปฏิเสธที่จะขาย หรือทำธุรกรรมด้วย
(refusal to deal/sell) การขายพ่วง (tied selling) หรือการบังคับซื้อ (product bundling) และการให้สิทธิ์ในการซื้อได้
ก่อน (pre‐emption of facilities).
2. Acquisition (การเข้าซื้อกิจการ)
การที่บริษัทหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือเข้าควบคุมบริษัทอื่นบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากการควบรวม
ธุรกิจ (merger) คือการเข้าซื้อกิจการไม่จำเป็นต้องเป็นการรวมบริษัท (amalgamation) หรือการควบรวมธุรกิจ
(merger) แต่เป็นการรวมสินทรัพย์ของทุกบริษัทจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ (consolidation) แม้ว่าการเข้าซื้อกิจการจะมีการ
เปลี่ยนการเข้าควบคุมโดยสิ้นเชิง แต่บริษัทที่เกี่ยวข้องอาจจะยังคงดำเนินการเป็นอิสระอยู่ แม้กระนั้นการควบคุมบริษัท
ร่วมกันเพื่อแสวงหากำไรให้ได้มากที่สุดและเป็นเรื่องที่องค์กรกำกับดูแล การแข่งขันให้ความสนใจ
3. Agreement to lessen or restrict competition (การทำความตกลงร่วมกันเพื่อลดหรือจำกัดการแข่งขัน)
การทำความตกลงร่วมกัน หมายถึง การทำความตกลงร่วมกันทั้งแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผย เพื่อผลประโยชน์
ร่วมกันระหว่างบริษัท การทำความตกลงที่จะจำกัดการแข่งขันอาจเป็นเรื่องราคา การผลิต ตลาด และลูกค้า ซึ่งการทำ
ความตกลงประเภทนี้ มักจะเหมือนกับคาร์เทล (cartel) หรือการสมรู้ร่วมคิด (collusion) และศาลจะถือว่าเป็นการฝ่า
ฝืนกฎหมายการแข่งขัน เนื่องจากมีผลเพิ่มราคาสินค้า จำกัดผลผลิต และผลที่เกิดขึ้นเป็นผลร้ายต่อเศรษฐกิจการทำ
ความตกลงร่วมกันอาจเป็นแบบเป็นทางการและอาจเขียนเงื่อนไขต่าง ๆ เป็นลายลักษณ์อักษรที่เด่นชัดหรือไม่เด่นชัดแต่
เป็นที่เข้าใจตรงกันในหมู่สมาชิก การทำความตกลงร่วมกันที่เด่นชัด ไม่จำเป็นต้องเป็นการทำความตกลงแบบเป็น
ทางการและ "เปิดเผย" ซึ่งผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ที่ตกลงร่วมกันสามารถสังเกตเห็น ในความเป็นจริงแล้ว การทำความตกลง
ร่วมกันที่เป็นการจำกัดการแข่งขัน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบซ่อนเร้น ซึ่งองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันไม่สามารถตรวจพบได้
ง่าย ไม่ใช่การตกลงร่วมกันทุกประเภทจะเป็นผลร้ายต่อการแข่งขัน หรือถูกห้ามตามกฎหมายการแข่งขัน กฎหมายการ
แข่งขันในหลายประเทศยกเว้นการจัดการร่วมกันระหว่างบริษัท ซึ่งอาจส่งเสริมประสิทธิภาพ หรือ การเปลี่ยนแปลงใน
ตลาด ตัวอย่างเช่น อาจยอมให้มีการตกลงร่วมกันระหว่างบริษัท ในการที่จะพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบบ
เดียวกัน เพื่อที่จะส่งเสริมการประหยัดต่อขนาด เพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ และการเผยแพร่เทคโนโลยี ในทำนองเดียวกัน
อาจยอมให้บริษัทร่วมมือกัน ในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางสถิติ หรือการลงทุน
ร่วมกัน เพื่อกระจายความเสี่ยงและก่อตั้งกองทุนรวมในโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม การยกเว้นนี้
โดยทั่วไปมีพื้นฐานมาจากการทำความตกลงร่วมกัน หรือ การจัดการที่ไม่ใช่การกำหนดราคา หรือ พฤติกรรมที่จำกัด
การแข่งขันประเภทอื่น
4. Anti‐competitive Practices (พฤติกรรมที่ต่อต้านการแข่งขัน)
พฤติกรรมการค้าต่างๆ โดยบริษัทหรือกลุ่มบริษัทในการที่จะจำกัดการแข่งขันระหว่างบริษัท เพื่อรักษาหรือเพิ่ม
สถานะในตลาดและผลกำไร โดยไม่จำเป็นต้องขายสินค้าและให้บริการในราคาต่ำลงหรือมีคุณภาพสูงขึ้น ปัจจัยสำคัญ
ของการแข่งขัน คือ บริษัทจะต้องมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การดำเนินการทางการค้าอาจถูกคัดค้าน ถ้าหากบริษัท
พยายามที่จะจำกัดการแข่งขัน โดยการไม่สร้างความได้เปรียบ แต่ใช้สถานะในตลาดของตนเพื่อที่จะทำให้คู่แข่ง ลูกค้า
และผู้ขายเสียเปรียบ ซึ่งทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ผลผลิตลดลง ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลง สูญเสียประสิทธิภาพทาง
เศรษฐกิจและการจัดสรรทรัพยากรไม่เหมาะสม พฤติกรรมทางการค้าประเภทใดน่าจะถือว่าเป็นการลดการแข่งขันและ
ฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่กรณี อาจเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายโดยไม่ต้องพิสูจน์ (per se
illegal) หรือพิจารณาภายใต้หลักเหตุผล (rule of reason) ตัวอย่างเช่น การกำหนดราคาขายต่อ (resale price
maintenance) ส่วนใหญ่จะถือว่าผิดกฎหมาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ ในขณะที่การร่วมกันจำกัดมิให้บุคคลที่สามซื้อสินค้าหรือ
บริการจากผู้ประกอบการอื่น (exclusive dealing) อาจพิจารณาภายใต้หลักเหตุผล ในประเทศสหรัฐ การตกลงร่วมกัน
กำหนดราคาเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยไม่ต้องพิสูจน์ ในขณะที่ในประเทศแคนาดา การตกลงร่วมกันจะต้องมีผล
ครอบคลุมตลาดส่วนใหญ่ พฤติกรรมจำกัดการแข่งขันแบ่งออกได้เป็นการจำกัดในแนวนอนและแนวดิ่ง พฤติกรรมใน
แนวนอนรวมถึงคาร์เทล (cartel) การสมรู้ร่วมคิด (collusion) การสมคบกัน (conspiracy) การควบรวมกิจการ
(merger) การกำหนดราคาขายต่ำ (predatory pricing) การเลือกปฏิบัติด้านราคา (price discrimination) และการตก
ลงร่วมกันกำหนดราคา (price fixing) พฤติกรรมประเภทที่สองรวมถึงการจำกัดมิให้บุคคลที่สามซื้อสินค้าหรือบริการ
จากผู้ประกอบการอื่น (exclusive dealing) การจำกัดตลาดในเชิงภูมิศาสตร์ (geographic market restrictions) การ
ปฏิเสธที่จะขายหรือทำธุรกรรมด้วย (refusal to deal/sell) การกำหนดราคาขายต่อ (resale price maintenance) และ
การขายพ่วง (tied selling) โดยทั่วไปแล้ว การจำกัดในแนวนอนจะต้องมีคู่แข่งขันในตลาดใน ขณะที่การจำกัดในแนวดิ่ง
จะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายและผู้จัดจำหน่าย อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างการจำกัด ในแนวนอนและ
แนวดิ่งมักจะไม่ชัดเจนและพฤติกรรมประเภทหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมอีกประเภทหนึ่ง
5. Antitrust (การต่อต้านการผูกขาด)
การต่อต้านการผูกขาด เป็นกฎหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดำเนินการกับการผูกขาดและพฤติกรรม
ผูกขาด กฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือนโยบายต่อต้านการผูกขาดเป็นคำที่ใช้ในประเทศสหรัฐ ในขณะที่ประเทศอื่นใช้
คำว่ากฎหมายหรือนโยบายการแข่งขัน บางประเทศใช้วลีว่า "กฎหมายการค้าที่เป็นธรรมหรือกฎหมายต่อต้านการ
ผูกขาด (Fair Trading or Antimonopoly Law) " กฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือกฎหมายการแข่งขันส่วนใหญ่มี
ข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้าง เช่น การควบรวมธุรกิจ (merger) การผูกขาด(monopoly) สถานะการมีอำนาจเหนือตลาด
(dominant ‐market position) และการกระจุกตัว (concentration) รวมทั้งพฤติกรรมเช่น การสมรู้ร่วมคิดกัน
(collusion) การกำหนดราคา (price fixing) และการกำหนดราคาขายต่ำ(predatory pricing)
6. Barrier to Entry (อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด)
อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด เป็นปัจจัยซึ่งป้องกันหรือขัดขวางการเข้าสู่อุตสาหกรรมของบริษัทใหม่ แม้แต่เมื่อ
บริษัทที่มีอยู่เดิมมีกำไรมากเกินพอ อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทกว้างๆ คือ อุปสรรคทาง
โครงสร้าง และ อุปสรรคทางกลยุทธ์ อุปสรรคทางโครงสร้างเกิดจากลักษณะ พื้นฐานของ อุตสาหกรรมเช่น เทคโนโลยี
ต้นทุน และอุปสงค์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคทางโครงสร้าง น่าจะเป็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ความได้เปรียบด้าน
ต้นทุนของผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาด และการประหยัดต่อขนาด ต้นทุนจม ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ทำให้
ผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดได้เปรียบ เนื่องจากผู้เข้าสู่ตลาดรายใหม่จะต้องเอาชนะความเชื่อถือต่อตราสินค้าของ
ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาด ความได้เปรียบด้านต้นทุน หมายความว่า ผู้เข้าสู่ตลาดรายใหม่จะมีต้นทุนต่อหน่วยของ
ผลิตภัณฑ์สูง บางครั้งน่าจะเป็นเพราะความเสียเปรียบทางเทคโนโลยี การประหยัดต่อขนาด จะจำกัดจำนวนของบริษัท
ซึ่งสามารถดำเนินการให้มีต้นทุนต่ำตามขนาดที่กำหนด บางครั้งต้นทุนจมที่ไม่สามารถเรียกคืนได้เมื่อเลิกกิจการ ถือว่า
เป็นอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดด้วย รัฐบาลอาจเป็นต้นเหตุของอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดได้โดยการออกใบอนุญาตและ
การออกระเบียบต่าง ๆ และอุปสรรคทางกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดเกิดจากพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในตลาด
เช่น pre‐emption of facilities โดยผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในตลาดลงทุนด้านปริมาณสูงสุดในการผลิต เพื่อที่จะทำ
สงครามด้านราคาหากมีการเข้าสู่ตลาดโดยผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ เป็นต้น
7. Bid Rigging (การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูล)
การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูลเป็นรูปแบบเฉพาะรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมการรวมหัวกันกำหนดราคา
โดยบริษัทที่ร่วมกันประมูล ซึ่งมี2 แบบคือ บริษัทตกลงที่จะยื่นประมูลร่วมกันซึ่งเป็นการจำกัดการแข่งขันด้านราคา และ
บริษัทตกลงร่วมกันว่าบริษัทใดจะเป็นผู้ประมูลราคาต่ำที่สุดและสับเปลี่ยนกันในวิธีที่จะทำให้แต่ละบริษัทชนะการประมูล
ตามจำนวนของสัญญาที่ตกลงกันไว้ การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูลเป็นรูปแบบของการตกลงร่วมกันที่ใช้อย่าง
กว้างขวางที่สุด
8. Brand Competition (intra‐and inter brand) (การแข่งขันในด้านตราสินค้า- เดียวกันและต่างกัน)
บริษัทที่ขายสินค้าต่างกัน มักจะพัฒนาและแข่งขันกันจากตราสินค้าหรือฉลาก เช่น โคคา โคล่า กับ เปปซี่ โค
ล่า เป็นการแข่งขันระหว่างตราสินค้า ผู้ซื้อต่างกันอาจต้องการซื้อสินค้าคนละตราสินค้า แม้ว่าจะต้องซื้อในราคาที่สูงขึ้น
หรือบ่อยขึ้น การแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกัน เป็นการแข่งขันระหว่างผู้ค้าปลีกและผู้จัดจำหน่ายในตราสินค้า
เดียวกัน การแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกันอาจเป็นการแข่งขันด้านราคาหรือด้านที่ไม่ใช่ราคา ตัวอย่างเช่น ยีนส์ลี
วายส์ อาจขายในราคาที่ต่ำกว่าใน discount store หรือ specialty store เทียบกับห้างสรรพสินค้า แต่ไม่ให้บริการดี
เท่ากับห้างสรรพสินค้า การให้บริการที่ดีทำให้ เกิดการแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกันในด้านที่ไม่ใช่ราคา ผู้ผลิตบาง
รายพยายามที่จะกำหนดราคาขายปลีกสินค้าของตนให้เป็นแบบเดียวกัน และป้องกันการแข่งขันภายในตราสินค้า
เดียวกัน โดยการกำหนดราคาขายต่อ (resale price maintenance) เพื่อที่จะกระตุ้นการแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกัน
ในด้านที่มิใช่ราคาถ้าหากการทำเช่นนั้นจะเป็นการเพิ่มยอดขายสินค้า
9. Bundling (การบังคับซื้อ )
การบังคับซื้อ หมายถึงการขายคู่กันเป็นแพคเกจ เช่น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อาจกำหนดให้ลูกค้าซื้อ ส่วนประกอบ
ทั้งหมดพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นดิสก์ และกระดาษพิมพ์ และอาจขายเป็นแพคเกจ เช่น รถยนตร์
ประกอบด้วย options ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเกียร์อัตโนมัติ วิทยุ และเครื่องปรับอากาศรถยนตร์ การพิจารณาเรื่องการบังคับ
ซื้อต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไปโดยพิจารณาตามหลักเหตุผล
10. Cartel (คาร์เทล)
การตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการ ระหว่างบริษัทในอุตสาหกรรมที่มีผู้ขายน้อยราย สมาชิกของคาร์เทล จะตก
ลงร่วมกันในเรื่องราคา ผลผลิตในอุตสาหกรรมทั้งหมดส่วนแบ่งตลาด การจัดสรรลูกค้า การแบ่งเขต การตกลงร่วมกัน
กำหนดราคาประมูล การจัดตั้งองค์การขายร่วมกัน และการแบ่งกำไร เป็นต้น คาร์เทลในความหมายนี้คล้ายกับการสมรู้
ร่วมคิดกันแบบเปิดเผย คาร์เทลเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของบริษัทสมาชิก โดยทั่วไปแล้ว พฤติกรรมแบบคาร์เทลพ
ยายามที่จะเลียนแบบพฤติกรรมการผูกขาด โดยการจำกัดผลผลิตของอุตสาหกรรม การขึ้นราคาสินค้าหรือกำหนดราคา
สินค้าเพื่อให้ได้กำไรสูงขึ้นคาร์เทลแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผย มีลักษณะ ต่อไปนี้
คาร์เทลแบบเปิดเผย รัฐบาลอาจกำหนดและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับราคาผลผลิตและอื่น ๆ export
cartelsและ การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ (shipping conference) เป็นตัวอย่างของคาร์เทลแบบเปิดเผย
คาร์เทลแบบไม่เปิดเผย จะต้องเป็นการทำความตกลงร่วมกันที่มีเงื่อนไขที่จะก่อประโยชน์ร่วมกัน แต่
บุคคลภายนอกจะไม่รู้ คาร์เทลที่ประสบผลสำเร็จไม่ว่าจะเป็นแบบเปิดเผยหรือไม่เปิดเผย ต้องร่วมแรงร่วมใจกัน
ประสานกัน และความยินยอมร่วมกันในหมู่สมาชิก ซึ่งหมายความว่าสมาชิกของคาร์เทลจะต้องสามารถตรวจพบเมื่อมี
การฝ่าฝืนข้อตกลงเกิดขึ้นและสามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนได้
11. Collusion (การสมรู้ร่วมคิดกัน)
การสมรู้ร่วมคิดกัน หมายถึง การร่วมมือกัน (combination) การสมคบกัน (conspiracy) หรือ การทำความตก
ลงร่วมกัน (agreement) ในหมู่ผู้ขาย เพื่อที่จะขึ้นราคาสินค้าหรือกำหนดราคาสินค้า และลดผลผลิตเพื่อเพิ่มผลกำไร
การสมรู้ร่วมคิดกันแตกต่างจากคาร์เทล คือ การสมรู้ร่วมคิดกันไม่จำเป็นต้องมีการทำความตกลงร่วมกันอย่างเป็น
ทางการไม่ว่าจะเป็นแบบเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยระหว่างสมาชิก อย่างไรก็ตาม ผลต่อเศรษฐกิจของการสมรู้ร่วมคิดกัน
และคาร์เทลจะเหมือนกัน และมักจะใช้สองคำนี้แทนกันเสมอ องค์กรกำกับดูแลการแข่งขันมองว่า การสมรู้ร่วมคิดกัน
ระหว่างบริษัทที่จะขึ้นราคาสินค้าหรือกำหนดราคาสินค้าและลดผลผลิต เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันที่ร้ายแรง
ที่สุด การสมรู้ร่วมคิดกันจะทำได้ง่าย เมื่อมีผู้ขายน้อยรายและผลิตสินค้าเหมือนกันการสมรู้ร่วมคิดกัน ไม่จำเป็นต้องมี
การทำความตกลงร่วมกันหรือการสื่อสารกันแบบเปิดเผยระหว่างบริษัทในตลาดผู้ขายน้อยราย บริษัทมักจะพึ่งพาอาศัย
กันในการตัดสินใจเรื่องราคาสินค้าและผลผลิต ดังนั้น การดำเนินการของแต่ละบริษัทจะเกิดผลกระทบและก่อให้เกิดการ
ตอบสนองในทางตรงข้ามโดยบริษัทอื่น ในสถานการณ์เช่นนี้ บริษัทอาจพิจารณาพฤติกรรมของคู่แข่งขันและร่วมมือกัน
เป็น คาร์เทลโดยไม่มีการทำความตกลงร่วมกันอย่างเปิดเผยซึ่งพฤติกรรมการร่วมมือกันเช่นนี้เรียกว่า tacit collusion
หรือ conscious parallelism
ปัจจัยที่อาจช่วยให้เกิดการตกลงร่วมกันกำหนดราคา รวมถึง
1) ความสามารถที่จะขึ้นหรือรักษาราคาสินค้า ถ้าหากอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดต่ำหรือมีสินค้าทดแทนอยู่
การสมรู้ร่วมคิดกันจะไม่ประสบผลสำเร็จ และบริษัทไม่มีแรงจูงใจที่จะยังคงสมคบกันหรือเข้าร่วมสมคบกันด้านราคา
2) บริษัทไม่ได้คาดหวังว่า การสมรู้ร่วมคิดกันจะถูกตรวจพบได้ง่ายหรือถูกลงโทษรุนแรง หรือ หากเป็นเช่นนั้น
แล้ว ผลกำไรจากการสมรู้ร่วมคิดกันจะสูงกว่าค่าปรับและสูงกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเสียชื่อเสียงของบริษัทมาก
3) ค่าใช้จ่ายขององค์กรต่ำ ถ้าหากการเจรจาระหว่างบริษัทถูกเลื่อนออกไปและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและ
การตรวจสอบสูง การสมรู้ร่วมคิดกันจะเกิดได้ยาก
4) ผลิตสินค้าที่เหมือนกันหรือคล้ายกันมาก การทำความตกลงร่วมกันให้ราคาเป็นแบบเดียวกันทำได้ยาก ถ้า
หากสินค้าแตกต่างกัน เช่น ในด้านคุณภาพ และความทนทาน ดังนั้น จึงเป็นการยากที่บริษัทจะตรวจพบว่าการ
เปลี่ยนแปลงยอดขาย เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงความชอบของผู้ซื้อหรือการโกงของบริษัทในรูปการขายตัดราคาที่
เป็นความลับ
5) อุตสาหกรรมมีการกระจุกตัวสูงหรือมีบริษัทขนาดใหญ่สองสามราย เมื่อจำนวนบริษัทน้อย ค่าใช้จ่ายในการ
สมรู้ร่วมคิดกันมักจะต่ำ ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการตรวจพบบริษัทซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามราคาที่กำหนดจะสูงขึ้น
6) การมีสมาคมอุตสาหกรรมหรือสมาคมการค้า สมาคมมักจะเป็นแหล่งความร่วมมือในกิจกรรมทางการค้า
และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งอาจช่วยในการสมรู้ร่วมคิดกันซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของ องค์กรและค่าใช้จ่ายในการตรวจ
พบการร่วมมือกัน การสมรู้ร่วมคิดกันไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยปัจจัยทั้งหมดหรือปัจจัยบางประการที่กล่าวถึงข้างต้นใน
ตลาดที่กำหนด นอกจากนี้ มีปัจจัยจำนวนมากซึ่งอาจจำกัดการสมรู้ร่วมคิดกัน เช่น ลักษณะที่ต่างกันของสินค้า ความ
แตกต่างของค่าใช้จ่ายระหว่างบริษัท เงื่อนไขในธุรกิจ การมีลูกค้าที่มีประสบการณ์ในการซื้อมาก การเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยี ความถี่ในการซื้อสินค้า แรงจูงใจที่จะตัดราคากันอย่างลับๆ และส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
12. Combination (การร่วมมือกัน)
การร่วมมือกัน หมายถึง การจับกลุ่มกันเพื่อให้เกิดการผูกขาด คาร์เทล หรือ การทำความตกลงร่วมกัน
เพื่อที่จะขึ้น หรือ กำหนดราคา หรือ จำกัดผลผลิต เพื่อให้ได้กำไรสูงขึ้น ซึ่งคำนี้ใช้แทนได้กับการสมคบกัน (conspiracy)
และการสมรู้ร่วมคิดกัน (collusion) ด้วย
13. Competition (การแข่งขัน)
การแข่งขันเป็นสถานะการณ์ในตลาด ซึ่งบริษัทหรือผู้ขายต่อสู้เพื่อให้ได้ผู้ซื้อเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเฉพาะทาง
ธุรกิจ เช่น กำไร ยอดขาย และ/หรือส่วนแบ่งตลาด การแข่งขันระหว่างบริษัทอาจเกิดขึ้น เมื่อมีบริษัทสองบริษัทหรือ
มากกว่านั้นแข่งขันกันในรูปราคา คุณภาพ บริการหรือปัจจัยข้างต้นรวมกันรวมทั้งปัจจัยอื่นซึ่งมีผลต่อลูกค้า
14. Concentration (การกระจุกตัว)
การกระจุกตัว หมายถึง ระดับซึ่งบริษัทถือครองยอดขาย สินทรัพย์หรือการจ้างงานใน สัดส่วนของยอดรวมของ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในตลาดสินค้าหรือบริการเดียวกัน โดยพิจารณาได้ทั้งการกระจุกตัวของตลาดผู้ซื้อและ/หรือตลาด
ผู้ขาย
15. Conglomerate (การรวมบริษัท)
การรวมบริษัท หมายถึง บริษัทซึ่งมีการดำเนินธุรกิจต่างกันในอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยการรวม
บริษัทอาจเกิดจากการควบรวมธุรกิจ(merger) และการเข้าซื้อกิจการ (acquisition) และการลงทุนข้าม อุตสาหกรรม
ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น การลดความเสี่ยง การเข้าถึงทรัพยากรทางการเงินและการบริหารมากขึ้น การจัดสรรทรัพยากรที่
มีประสิทธิภาพมากขึ้น การรวมบริษัทจะทำให้เกิดการลดการแข่งขันได้ง่ายขึ้น จากการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
ข้ามบริษัทในธุรกิจที่ได้กำไรน้อย เพื่อมุ่งหมายที่จะจำกัดการแข่งขันและการจัดการแบบต่างตอบแทนกับบริษัทที่รวมกัน
อื่นๆ ในการซื้อและขายวัตถุดิบและผลผลิต
16. Conscious Parallelism (การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเป็นแนวเดียวกันและสินค้าเหมือนกัน)
การดำเนินการด้านราคาและผลผลิตของบริษัทหนึ่งในตลาดที่มีผู้ขายน้อยรายมี ผลกระทบอย่างมากต่อการ
ดำเนินการด้านราคาและผลผลิตของบริษัทคู่แข่งขัน บริษัทจะตระหนักถึงความเป็นจริงนี้และจะมีพฤติกรรมร่วมกันโดย
ไม่มีการตกลงที่เปิดเผย ราวกับว่าบริษัทเข้าร่วมในพฤติกรรมการรวมหัวกันหรือคาร์เทลเพื่อกำหนดราคาและจำกัด
ผลผลิต ความกลัวที่จะมีพฤติกรรมแยกจากพฤติกรรมเช่นนี้ อาจนำไปสู่การขายสินค้าตัดราคา การขายสินค้าที่มีกำไร
ลดลงและความไม่คงที่ของส่วนแบ่งตลาด อาจทำให้ผู้อื่นมีแรงจูงใจที่จะรักษาข้อตกลงที่ไม่เปิดเผยนี้ไว้ ราคาที่เป็นแบบ
เดียวกันอาจเป็นผลลัพท์ในตลาดที่มีผู้ขายน้อยรายและมีสินค้าเหมือนกัน แต่การที่มีราคาสินค้าเป็นแนวเดียวกันและ
สินค้าเหมือนกันไม่เพียงพอที่จะระบุว่าเกิดการรวมหัวกัน การทำความตกลงร่วมกันหรือคาร์เทล จะต้องพิจารณาปัจจัย
อื่นที่เกิดจากลักษณะตลาด หรือโครงสร้างอุตสาหกรรมด้วย
17. Consolidation (การควบกิจการโดยการรวมสินทรัพย์)
การควบกิจการโดยการรวมสินทรัพย์โดยทั่วไป กล่าวถึงการร่วมมือกัน (combination) หรือการรวมบริษัท
(amalgamation) ของบริษัทสองบริษัทหรือมากกว่านั้นเป็นบริษัทใหม่จากการถ่ายโอนสินทรัพย์สุทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บริษัทใหม่อาจถูกจัดระบบให้แตกต่างไปจากการการควบรวมธุรกิจ (merger)
18. Conspiracy (การสมคบกัน)
การสมคบกันตามปกติ เป็นการทำความตกลงร่วมกันแบบไม่เปิดเผยหรือเป็นความลับระหว่างบริษัทที่แข่งขัน
กันเพื่อที่จะให้ได้กำไรสูงขึ้น โดยการเข้าร่วมทำความตกลง เพื่อที่จะกำหนดราคาและจำกัดผลผลิต คำว่า การร่วมมือ
กัน (combination) การสมคบกัน (conspiracy) การตกลงร่วมกัน (agreement) และการสมรู้ร่วมคิดกัน (collusion)
มักจะใช้แทนกันได้
19. Control of Enterprise (การมีอำนาจควบคุมบริษัท)
การมีอำนาจควบคุมบริษัท จะเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนหรือกลุ่มนักลงทุนถือหุ้นสามัญที่มีสิทธิออกเสียงมากกว่า
50% ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัท อย่างไรก็ตาม การมีอำนาจควบคุมบริษัท จะมีผลเมื่อนักลงทุนคุมเสียงส่วน
ใหญ่ของผู้ถือหุ้น แม้จะถือหุ้นน้อยกว่า 50% แต่นักลงทุนรายย่อยจำนวนมากยังคงถือหุ้นที่เหลืออยู่ การใช้อำนาจ
ควบคุมบริษัท อาจทำการไขว้คณะกรรมการบริหารและการถือกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างบริษัทเหมือนอย่างในกรณีของการ
รวมบริษัท (conglomerate)
20. Diversification (การกระจายกิจการหรือการลงทุนของธุรกิจ)
การกระจายกิจการหรือการลงทุนของธุรกิจ เป็นการขยายบริษัทในสินค้าหรือตลาดอีกประเภท การกระจาย
กิจการที่สัมพันธ์กัน เกิดขึ้นเมื่อบริษัทขยายเข้าไปในประเภทของสินค้าที่คล้ายกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตรถยนตร์อาจผลิต
ยานพาหนะเพื่อโดยสารและรถบรรทุกเล็ก การกระจายกิจการที่ไม่สัมพันธ์กัน เกิดขึ้นเมื่อผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตอาหาร ผลิตรองเท้าหนังด้วย การกระจายกิจการ อาจเกิดขึ้นด้วยเหตุผลต่างๆ คือ เพื่อการ
ถือเอาประโยชน์จากลักษณะเสริมต่อกันและกันในการผลิตและเทคโนโลยีที่มีอยู่ เพื่อใช้ประโยชน์จากการประหยัดต่อ
ขนาด เพื่อลดความเสี่ยง เพื่อให้รายได้คงที่และเอาชนะสภาวะทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น มีหลักฐานมากมายที่
แสดงว่าการกระจายกิจการที่สัมพันธ์กันอาจมีกำไรมากกว่าการกระจายกิจการที่ไม่สัมพันธ์กัน
21. Divestiture (การขายกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด)
การขายกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด เป็นการซื้อขายส่วนของกิจการ แผนกหรือสาขา การขายกิการบางส่วน
หรือทั้งหมด อาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากบริษัทปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อที่จะมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งหรือตลาดใด
ตลาดหนึ่ง องค์กรกำกับดูแลการแข่งขันอาจบังคับให้ขายกิจการ อันเป็นผลมาจากการควบรวมกิจการหรือการเข้าซื้อ
กิจการ ซึ่งน่าจะจำกัดการแข่งขันอย่างเห็นได้ชัด การขายกิจการในสถานการณ์หลังนี้ มุ่งหมายเพื่อรักษาการแข่งขันที่มี
อยู่ในตลาด การขายกิจการอาจเกิดขึ้นเป็นส่วนของนโยบายเพื่อที่จะลดการกระจุกตัวในอุตสาหกรรม
22. Dominant Firm (บริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด)
บริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด คือ บริษัทซึ่งมีส่วนแบ่งมากในตลาดที่กำหนด และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าคู่แข่ง
ที่ใหญ่เป็นอันดับสองมาก ตามแบบปฏิบัติ ผู้มีอำนาจเหนือตลาดคือผู้ที่มีส่วนแบ่งตลาด 40% หรือมากกว่านั้น บริษัทที่
มีอำนาจเหนือตลาด อาจเพิ่มปัญหาด้านการแข่งขันเมื่อบริษัทมีอำนาจที่จะกำหนดราคาอย่างอิสระ ดังนั้น อุตสาหกรรม
ที่มีบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดมักจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ขายน้อยราย อย่างไรก็ตาม มักจะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สม
ส่วนกันเนื่องจากบริษัทมีขนาดไม่เท่ากัน ตามปกติ บริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดจะมีคู่แข่งขันรายเล็กจำนวนมากและมีผู้
ที่อาจเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก
23. Excess Price (ราคาสินค้าที่สูงเกินไป)
ราคาสินค้าที่สูงเกินไป คือ ราคาที่กำหนดเหนือระดับราคาที่มีการแข่งขัน อันเป็นผลมาจากการผูกขาดหรือ
อำนาจตลาด อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติไม่ปรากฎการสมคบกันหรือการตกลงร่วมกัน กำหนดราคาหรือหลักฐานของ
อำนาจตลาดที่เกิดจากการกระจุกตัวสูง จึงเป็นการยากที่จะกำหนดเกณฑ์ว่าราคาสูงระดับใดจึงถือว่าสูงผิดปกติหรือสูง
โดยไม่สมควร เนื่องจากวิธีการเบื้องต้นในการจัดการผลิตในตลาดใช้ระบบราคา ดังนั้น ความยืดหยุ่นของราคาจึงเป็นสิ่ง
สำคัญ ราคาจะขึ้นลงเพื่อให้อุปสงค์และอุปทานสมดุลกัน การขาดแคลนอุปทานในระยะสั้นหรือการเพิ่มอุปสงค์ จะทำให้
ราคาสูงขึ้นและเกิดแรงจูงใจที่จะผลิตมากขึ้นและผู้จำหน่ายรายใหม่จะเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
24. Export Cartel
Export Cartel เป็นการทำความตกลงร่วมกัน หรือการจัดการระหว่างบริษัที่จะคิดราคาส่งออกเฉพาะและ/หรือ
เพื่อที่จะแบ่งตลาดส่งออก กฎหมายการแข่งขันหลายประเทศ ได้ยกเว้นการทำความตกลงร่วมกันเช่นนี้จากข้อกำหนด
เกี่ยวกับการสมคบกัน โดยเสนอว่า คาร์เทลไม่ได้นำไปสู่ผลที่เป็นอันตรายต่อการแข่งขันในตลาดภายในประเทศ เช่น
นำไปสู่การตกลงร่วมกันกำหนดราคาหรือก่อให้เกิดการลดการส่งออก เหตุผลในการอนุญาตการรวมหัวกันส่งออ กคือ
การตกลงร่วมกันประเภทนี้ จะช่วยในการ่วมกันเข้าแทรกซึมตลาดต่างประเทศ การถ่ายโอนรายได้จากผู้บริโภค
ต่างประเทศไปสู่ผู้ผลิตภายในประเทศและก่อให้เกิดสมดุลทางการค้า
25. Extraterritoriality(การใช้กฎหมายของประเทศหนึ่งภายในเขตอำนาจศาลของอีกประเทศหนึ่ง)
Extraterritoriality จะเกิดขึ้น ถ้าหากการดำเนินธุรกิจของบริษัทในประเทศหนึ่งมีผลลดการแข่งขันในอีกประเทศ
หนึ่ง ซึ่งประเทศนั้นถือว่าฝ่าฝืนกฎหมาย ตัวอย่างเช่น การรวมหัวกันส่งออกโดยบริษัทซึ่งอาจได้รับการยกเว้นจาก
กฎหมายแข่งขันของประเทศ A แต่อาจถูกมองว่า เป็นการทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคาเพื่อจำกัดการแข่งขันใน
ตลาดของประเทศ B และถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายป้องกันการผูกขาดของประเทศ B อีกสถานะการณ์หนึ่งที่อาจ
เกิดขึ้น คือ การรวมธุรกิจระหว่างบริษัทที่แข่งขันกันสองบริษัทในประเทศหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างเห็น
ได้ชัดในตลาดของอีกประเทศหนึ่ง บริษัทอาจฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันของอีกประเทศสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น
เป็นสำคัญ คือ ลักษณะของความสัมพันธ์ของการปกครองระหว่างประเทศ ประเทศที่มีการฝ่าฝืน สถานะทางกฎหมายใน
การดำเนินธุรกิจในประเทศที่มีพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้น และการดำเนินงานของสาขาและสินทรัพย์ในประเทศที่ได้รับ
ผลกระทบซึ่งทำให้เกิดการดำเนินการทางกฎหมาย
26. Failing Firm (บริษัทที่ล้มเหลว)
บริษัทที่ล้มเหลว คือ บริษัทซึ่งมีผลกำไรเป็นลบอย่างต่อเนื่องและเสียส่วนแบ่งตลาดไปจนถึงระดับที่บริษัทน่าจะ
เลิกกิจการ บริษัทที่ล้มเหลวเป็นประเด็นในการวิเคราะห์การควบรวมธุรกิจ เมื่อบริษัทที่เข้าซื้อได้โต้แย้งว่าการซื้อบริษัท
เช่นนี้จะไม่ทำให้เกิดผลลดการแข่งขันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากบริษัทนั้นน่าจะออกไปจากตลาดแล้ว ถ้าหากเป็นจริง
เช่นนั้นส่วนแบ่งตลาด "ในขณะนี้" ของบริษัทที่ล้มเหลวอาจไม่มี"นัย" ต่อการแข่งขันในอนาคต
27. Franchising (การทำความตกลงแฟรนไชส์)
การทำความตกลงแฟรนไชส์ เป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งระหว่างสองบริษัทที่เป็น "ผู้ให้ แฟรนไชส์
(franchisor)" และ "ผู้รับแฟรนไชส์ (franchisee)" โดยทั่วไปสองบริษัทมีสัญญากันว่า ผู้ให้แฟรนไชส์จะขายสินค้า
เครื่องหมายการค้า หรือวิธีการทางธุรกิจและบริการที่ได้รับการตรวจสอบให้แก่ผู้รับแฟรนไชส์แต่ละราย เพื่อแลกกับ
ชื่อเสียงของบริษัทและการจ่ายเงิน สัญญาอาจครอบคลุมถึงราคาสินค้า การโฆษณา สถานที่ ประเภทของร้านจัด
จำหน่าย พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น การทำความตกลงแฟรนไชส์โดยทั่วไป อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายการแข่งขัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการจำกัดในแนวดิ่ง ข้อตกลงแฟรนไชส์อาจช่วยให้การเข้าสู่ตลาดของบริษัทหรือ
สินค้าใหม่ทำได้ง่ายขึ้นและเกิดประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงแฟรนไชส์ในบางสถานะการณ์
อาจลดการแข่งขันด้วย
28. Free Rider หรือ Free Riding (การใช้ประโยชน์จากการส่งเสริมการขายของผู้อื่น)
Free Rider หรือ Free Riding เกิดขึ้นเมื่อบริษัทหนึ่งได้รับผลประโยชน์จากการกระทำและความพยายามของอีก
บริษัทโดยไม่มีการจ่ายหรือแบ่งปันค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีกอาจเลือกที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกหัดพนักงาน
เพื่อสาธิตให้ผู้ที่เป็นลูกค้ารู้ถึงวิธีการทำงานของเครื่องใช้ในครัวโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขาย อย่างไรก็ตาม
ต่อมาลูกค้าอาจเลือกที่จะซื้อสินค้าจากผู้ค้าปลีกรายอื่นซึ่งขายสินค้าราคาต่ำกว่า เนื่องจากกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ
ของบริษัทไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกหัดพนักงานและการสาธิต ผู้ค้าปลีกรายที่สองนี้ถือว่าเป็น "Free‐riding" ของ
ผู้ค้าปลีกรายแรก ถ้าหากสถานะการณ์เช่นนี้ยังคงอยู่ผู้ค้าปลีกรายแรกจะไม่มีแรงจูงใจที่จะดำเนินการสาธิตสินค้าต่อไป
29. Holding Company (บริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อมาควบคุมการเงินของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว)
บริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อมาควบคุมการเงินของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วซึ่งเป็นบริษัทที่ใช้เงินทุนเพียงอย่างเดียว
เพื่อให้ได้ประโยชน์จากบริษัทที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่ แม้ว่าวัตถุประสงค์หลักของบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อมาควบคุมการเงินของ
บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วมิใช่เพื่อดำเนินการ แต่โดยทั่วไปจะมีผู้แทนของบริษัท holdingเข้าไปเป็นคณะ
กรรมการบริหารบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่
30. Homogeneous Product (ผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน)
ผลิตภัณฑ์จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันได้ เมื่อทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ และผู้ซื้อไม่เห็นความแตกต่าง
ระหว่างผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายโดยบริษัทที่ต่างกัน ราคาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดประการเดียว ซึ่งบริษัทที่ผลิตสินค้าที่เหมือนกัน
แข่งขันกัน อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์แสดงว่าเมื่อบริษัทเช่นนี้มีจำนวนน้อย การมีผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันอาจช่วยให้
การรวมหัวกันทำได้ง่าย และการทำความตกลงร่วมกันอาจพบในผลิตภัณฑ์ เช่น ซีเมนต์ แป้ง เหล็ก และน้ำตาล
31. Interlocking Directorate (คณะกรรมการบริหารไขว้)
คณะกรรมการบริหารไขว้ เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเดียวกันอยู่ในคณะกรรมการบริหารของสองบริษัทหรือหลายบริษัท
ซึ่งการไขว้คณะกรรมการบริหารอาจทำเพื่อประสานการทำงานหรือลดการช่วงชิงระหว่างบริษัท
32. Joint Venture (การร่วมลงทุน)
เป็นการร่วมกันของบริษัทหรือบุคคลที่เกิดขึ้นเพื่อทำโครงการธุรกิจเฉพาะ การร่วมลงทุน คล้ายกับ
ความสัมพันธ์ที่เป็นหุ้นส่วนกัน แต่จำกัดอยู่กับโครงการจำเพาะ (เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะ หรือการทำวิจัยเฉพาะ
เรื่อง)การร่วมลงทุนอาจเป็นประเด็นการแข่งขันเมื่อเกิดขึ้นโดยบริษัทที่แข่งขันกันอยู่ ตามปกติ พิจารณาการร่วมลงทุน
บนหลักฐานที่ว่า โครงการจำเพาะนั้นมีความเสี่ยงหรือต้องการเงินทุนจำนวนมาก ดังนั้น การร่วมลงทุนจึงเป็นเรื่อง
ธรรมดาในอุตสาหกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรเมื่อค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงและมีโอกาสที่จะล้มละลายสูงเช่นกัน การร่วม
ลงทุนนี้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
33. Market (ตลาด)
ตลาด คือที่ ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายทำธุรกรรมในธุรกิจเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเฉพาะ และราคาของสินค้า
และบริการเหล่านี้มักจะเท่าเทียมกัน ตลาดอาจมีขอบเขตเป็นในท้องถิ่น ในภูมิภาค ประเทศหรือระหว่างประเทศ และไม่
จำเป็นที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมาพบกันหรือมีการสื่อสารกันโดยตรง ธุรกิจอาจทำการซื้อขายโดยใช้ตัวกลางด้วยก็ได้
34. Market Definition (คำจำกัดความของตลาด)
จุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์การแข่งขันประเภทใด คือ คำจำกัดความของตลาด "ที่เกี่ยวเนื่อง" คำจำกัดความ
ของตลาดมี 2 ลักษณะคือ (1) ตลาดสินค้า นั่นคือกลุ่มสินค้า และ (2) ตลาดในเชิงภูมิศาสตร์ นั่นคือ กลุ่มพื้นที่ทาง
ภูมิศาสตร์ คำจำกัดความของตลาด จะพิจารณาทั้งอุปสงค์และอุปทาน ด้านอุปสงค์ สินค้าจะต้องทดแทนกันได้จาก
มุมมองของผู้ซื้อ ด้านอุปทาน ผู้ขายจะต้องรวมถึงผู้ซื้อมาผลิตหรือสามารถเปลี่ยนการผลิตไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
หรือทดแทนกันได้ คำจำกัดความของตลาดโดยทั่วไป รวมถึงผู้ขายจริงและผู้ขายที่อาจเป็นไปได้ นั่นคือ บริษัทสามารถ
เปลี่ยนกระบวนการผลิตอย่างรวดเร็วเพื่อจำหน่ายสินค้าที่ทดแทนกันถ้าหากราคาสมเหตุสมผล ซึ่งบริษัทเหล่านี้มักจะลด
ความสามารถในการผลิตที่มีอยู่ในตลาดเพื่อที่จะขึ้นราคาสินค้าเหนือระดับที่มีการแข่งขัน สถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายถือว่า
เป็นตลาดในเชิงภูมิศาสตร์อาจเป็นในท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศหรือระหว่างประเทศ ถ้าหากตลาดถูกกำหนดแคบเกินไป
ในแง่ของสินค้าหรือภูมิศาสตร์ อาจไม่รวมการแข่งขันเข้าไปในการวิเคราะห์ อีกประการหนึ่งถ้าหากตลาดสินค้าและ
ภูมิศาสตร์ถูกกำหนดกว้างเกินไป ระดับการแข่งขันอาจเกินไปจากความเป็นจริง คำจำกัดความตลาดที่กว้างเกินไปหรือ
แคบเกินไปจะนำไปสู่การวัดส่วนแบ่งตลาดและการกระจุกตัวที่ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป
35. Market Power (อำนาจตลาด)
อำนาจตลาด คือ ความสามารถของบริษัท (หรือกลุ่มบริษัท) ที่จะขึ้นหรือรักษาราคาเหนือระดับที่น่าจะเป็น
หากมีการแข่งขัน การใช้อำนาจตลาดจะนำไปสู่ผลผลิตที่ลดลงและการสูญเสียทางเศรษฐกิจ แม้ว่ามีการเสนอคำจำกัด
ความทางเศรษฐศาสตร์ของอำนาจตลาดที่ถูกต้อง แต่การวัดอำนาจตลาดที่แท้จริงไม่ใช่วิธีที่ง่าย การใช้อำนาจตลาดที่
เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้นจะถูกใช้เพื่อหาว่ามีการทำให้การแข่งขันลดลงอย่างเห็นได้ชัดเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นหรือไม่
วิธีการนี้นำมาใช้ในการบริหารนโยบาย การควบรวมกิจการในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พยายามที่จะ
คาดการณ์ว่าหลังการควบรวมกิจการ บริษัทสามารถขึ้นราคาในระยะเวลาหนึ่งเหนือระดับเกณฑ์ที่กำหนด (เช่น 5 หรือ
10%) ได้หรือไม่ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่กรณีโดยไม่จูงใจให้บริษัทใหม่เข้าสู่ตลาดหรือผลิตสินค้าทดแทน
36. Market Share (ส่วนแบ่งตลาด)
ส่วนแบ่งตลาด เป็นการวัดขนาดของบริษัทในอุตสาหกรรมหรือตลาดในแง่ของสัดส่วนของผลผลิตหรือยอดขาย
หรือความสามารถในการผลิตทั้งหมด นอกจากกำไรแล้ว วัตถุประสงค์ทางธุรกิจของบริษัทที่อ้างถึงเสมอ คือ การเพิ่ม
ส่วนแบ่งตลาด ส่วนแบ่งตลาด กำไรและการประหยัดต่อขนาดมักจะสัมพันธ์กันในเชิงบวก และส่วนแบ่งตลาดที่สูงอาจทำ
ให้บริษัทมีอำนาจตลาด
37. Merger (การควบรวมกิจการ)
การควบรวมกิจการ คือ การรวมบริษัท (amalgamation) หรือการรวมกันของสองบริษัทหรือมากกว่านั้นเป็น
บริษัทที่มีอยู่แล้วหรือเกิดเป็นบริษัทใหม่ การควบรวมกิจการ เป็นวิธีการซึ่งบริษัทอาจเพิ่มขนาดหรือขยายเข้าไปในตลาด
ที่มีอยู่แล้วหรือตลาดใหม่ อาจมีแรงจูงใจต่างๆสำหรับการควบรวมกิจการ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้ได้อำนาจ
ตลาด เพื่อกระจาย หรือขยายเข้าไปในตลาดภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงินและการวิจัย
และพัฒนา เป็นต้นการควบรวมกิจการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
(1) การควบรวมกิจการในแนวนอน (Horizontal Merger) การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทซึ่งผลิตและขาย
สินค้าเหมือนกัน นั่นคือ ระหว่างบริษัทที่แข่งขันกัน การควบรวมกิจการในแนวนอน ถ้าหากมีผลต่อขนาดอาจลดการ
แข่งขันในตลาดแล้ว องค์กรกำกับดูแลการแข่งขันมักจะทบทวนอีกครั้ง การควบรวมกิจการในแนวนอน อาจถูกมองเป็น
การรวมกันในแนวนอนของบริษัทในตลาดหรือข้ามตลาด
(2) การควบรวมกิจการในแนวดิ่ง (Vertical Merger) การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทซึ่งดำเนินการใน
ขั้นตอนการผลิตที่ต่างกัน เช่น จากวัตถุดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อการจัดจำหน่าย ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเหล็กกล้า
ควบกิจการกับผู้ผลิตแร่เหล็ก ตามปกติการควบรวมกิจการในแนวดิ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพ แม้ว่าบางครั้งจะมีผลลดการ
แข่งขัน
(3) การควบรวมกิจการแบบผสม (Conglomerate Merger) การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทในธุรกิจที่ไม่
เกี่ยวข้อง เช่นระหว่างผู้ผลิตรถยนตร์และบริษัทผลิตอาหาร
38. Monopolization (การมีอำนาจผูกขาด)
การมีอำนาจผูกขาด คือ ความพยายามโดยบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดหรือกลุ่มของบริษัทที่ค่อนข้างใหญ่
เพื่อที่จะรักษาหรือเพิ่มการควบคุมตลาด โดยอาศัยพฤติกรรมที่ลดการแข่งขันต่างๆ เช่นการขายสินค้าตัดราคา ให้สิทธิ
ในการซื้อก่อน (pre‐emption of facility) และการจำกัดสิทธิ์ในการแข่งขัน
39. Monopoly (การผูกขาด)
การผูกขาด คือ สถานะการณ์ซึ่งมีผู้ขายรายเดียวในตลาด ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจทั่วไป ถือว่าการผูกขาด
ตรงข้ามกับการแข่งขันที่สมบูรณ์ จากการเปรียบเทียบการผูกขาดและการแข่งขันสมบูรณ์ ผลแสดงว่าผู้ผูกขาดจะกำหนด
ราคาสินค้าสูงขึ้น ผลผลิตต่ำลงและมีกำไรเหนือระดับปกติ การผูกขาดแตกต่างจากอำนาจตลาด โดยอำนาจตลาดคือค่า
ซึ่งกล่าวถึงสถานการณ์ซึ่งบริษัทเผชิญกับเส้นอุปสงค์ขาลงและอาจขึ้นราคาเหนือระดับราคาแข่งขัน อำนาจตลาดอาจ
เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เมื่อมีการผูกขาด แต่เมื่อมีผู้ขายน้อยรายมีการแข่งขันกึ่งผูกขาดหรือมีบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดด้วย
การผูกขาดอาจจะยังคงมีอยู่ถ้าหากมีอุปสรรคการเข้าสู่ตลาด ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวอาจร่วมกับการคุ้มครองทางกฎหมายที่
เกิดจากลิขสิทธิ์และแฟรนไชส์ที่ผูกขาด
40. Non‐Price Predation (การกำหนดเงื่อนไขจำกัดที่ไม่ใช่ด้านราคา)
การกำหนดเงื่อนไขจำกัดที่ไม่ใช่ด้านราคา เป็นรูปแบบของกลยุทธ์ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของคู่แข่งขัน ซึ่งมักจะ
เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและมีกำไรมากกว่าการขายตัดราคากัน วิธีที่เป็นแบบปฏิบัติรวมถึงการใช้กระบวนการทาง
กฎหมายหรือรัฐบาลเพื่อให้คู่แข่งขันเสียเปรียบ
41. Oligopoly (ตลาดผู้ขายน้อยราย)
ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย คือ ตลาดที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันด้านนโยบายการตั้งราคาและผลผลิต จำนวนของผู้ขายมี
น้อยรายจนทำให้ผู้ขายแต่ละรายมีอำนาจตลาดการผูกขาด โดยผู้ขายน้อยรายแตกต่างจากตลาดสมบูรณ์ เนื่องจากผู้ขาย
แต่ละรายในตลาดต้องพึ่งพาอาศัยกันและแตกต่างจากการแข่งขันกึ่งผูกขาด โดยผู้ขายสามารถควบคุมราคาสินค้า และ
แตกต่างจากการผูกขาดโดยผู้ขายที่ผูกขาดจะไม่มีคู่แข่งขัน โดยทั่วไปแล้วการวิเคราะห์การผูกขาดโดยกลุ่มผู้ขายน้อยราย
จะสนใจที่ผลของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างบริษัทในการตัดสินใจเรื่องราคาและผลผลิต
42. Perfect Competition (การแข่งขันสมบูรณ์)
การแข่งขันสมบูรณ์ประกอบด้วยเงื่อนไข 4 ประการ คือ
(1) มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากและไม่มีผู้ใดที่มีผลต่อราคา
(2) ในระยะยาวมีการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบในการผลิตอย่างเสรีไม่มีอุปสรรคในการเข้าและออกจากตลาด
(3) ผู้ซื้อและผู้ขายทั้งหมดในตลาด จะต้องได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการผลิตและบริโภคอย่าง
เต็มที่
(4) ผลิตภัณฑ์ควรเหมือนกัน
43. Price Discrimination (การเลือกปฏิบัติด้านราคา)
การเลือกปฏิบัติด้านราคา เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อในตลาดที่ต่างกันต้องซื้อสินค้าหรือบริการที่เหมือนกันในราคา
ต่างกันด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ใช่ต้นทุน การเลือกปฏิบัติด้านราคา จะมีผลถ้าหากลูกค้าไม่สามารถทำกำไรจากการขายสินค้า
หรือบริการให้แก่ลูกค้าอื่น การเลือกปฏิบัติด้านราคาอาจมีหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงการกำหนดราคาที่แตกต่างกันสำหรับ
กลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน ในบริเวณที่ต่างกันและประเภทของผู้ใช้ที่ต่างกัน
44. Price Fixing Agreement (การทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคา)
เป็นการทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคาระหว่างผู้ขายเพื่อจำกัดการแข่งขันระหว่างบริษัทและทำให้มีกำไรสูงขึ้น
การทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคาเกิดจากบริษัทพยายามที่จะมีพฤติกรรมผูกขาด
45. Price Leadership (การเป็นผู้นำด้านราคา)
ราคาและการเปลี่ยนแปลงราคาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด หรือบริษัทอื่นที่ได้รับ
การยอมรับให้เป็นผู้นำและมีบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเป็นผู้ตาม เมื่อการเป็นผู้นำด้านราคาสินค้าเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการ
สมรู้ร่วมคิดกันทำได้ง่ายขึ้น ผู้นำด้านราคามักจะกำหนดราคาสูง จนบริษัทที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดในตลาดอาจมีผล
กำไรเหนือระดับราคาที่มีการแข่งขัน
46. Product Differentiation (ความแตกต่างของสินค้า)
สินค้าจะมีความแตกต่างกันเมื่อมีลักษณะทางกายภาพ คุณภาพ ความทนทาน หรือการบริการ ภาพลักษณ์
และสถานที่ทางภูมิศาสตร์ต่างกัน บริษัทที่มีการโฆษณาหรือกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อให้สินค้าของตนมีความ
แตกต่าง ความแตกต่างของสินค้าอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด แต่อาจช่วยให้การแทรกเข้าตลาดทำได้ง่ายขึ้น
โดยบริษัทที่มีสินค้าซึ่งผู้ซื้ออาจชอบมากกว่าสินค้าที่มีอยู่ ควรสังเกตว่าสินค้าที่มีความแตกต่าง (differentiated
products) ไม่เหมือนกับ สินค้าที่มีคุณสมบัติต่างกัน (heterogeneous product) เนื่องจากสินค้าที่มีคุณสมบัติแตกต่าง
กันหมายถึงสินค้าที่ต่างกันและทดแทนไม่ได้ง่าย ในขณะที่สินค้าที่แตกต่างกัน (differential product) สามารถทดแทน
กันได้บางระดับ
47. Reciprocity (ความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนกัน)
ความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนกัน เป็นรูปแบบหนึ่งของการตกลงร่วมกันสองฝ่าย (หรือหลายฝ่าย) ระหว่าง
บริษัทเพื่อที่จะเอื้อต่อกันและกันในเรื่องของการซื้อและขายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งอาจมีผลจำกัดการแข่งขัน และ/
หรือป้องกันการเข้าสู่ตลาดของบริษัท การจัดการแบบต่างตอบแทนกัน ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ
ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันและกันอาจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัท โดยการรับรองว่าสัญญาจะสมบูรณ์หรือไม่ โดยการช่วย
ให้การขายสินค้าตัดราคาที่เป็นความลับทำได้ง่ายขึ้น (secret price‐cutting)
48. Recommended or Suggested Price (ราคาแนะนำ)
ผู้จำหน่ายอาจเสนอแนะหรือแนะนำราคาสินค้าที่ขายปลีกในหลายอุตสาหกรรม บางกรณีผู้จำหน่ายอาจ
กำหนดราคาสินค้า "ที่สูงที่สุด" เพื่อขัดขวางผู้ค้าปลีกจากการขึ้นราคาสินค้า เพื่อที่จะเพิ่มส่วนต่างของผลกำไรและลด
ยอดขายทั้งหมด พฤติกรรมเช่นนี้อาจเกิดขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการฝ่าฝืนกฎหมายการกำหนดราคาขายปลีก ซึ่งเป็นการ
จำกัด และพยายามกำหนดราคาขายที่ต่ำที่สุดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายของหลายประเทศ
49. Refusal to deal/sell (การปฏิเสธที่จะทำธุรกรรมด้วย)
การปฏิเสธที่จะจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ตามปกติ คือ ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่งซึ่งทำเพื่อบังคับผู้ค้าปลีกให้ร่วมใน
การกำหนดราคาขายต่อ เช่น ไม่ลดราคาสินค้าหรือสนับสนุนไม่ให้ผู้ซื้ออื่นเข้าร่วมกิจกรรมหรือขายสินค้าให้แก่ลูกค้า
เฉพาะรายหรือเฉพาะพื้นที่ การปฏิเสธที่จะทำธุรกรรมด้วยอาจเกิดขึ้นได้ถ้าหากผู้ซื้อมีเครดิตไม่ดีและมีความเสี่ยง เก็บ
สินค้าคงคลังไม่เพียงพอหรือบริการการขาย การโฆษณา และการจัดวางสินค้าไม่ดีพอ เป็นต้น ผลกระทบทางการแข่งขัน
ในการปฏิเสธที่จะทำธุรกรรมด้วยต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
50. Resale Price Maintenance (การกำหนดราคาขายต่อ)
ผู้จำหน่ายซึ่งกำหนดราคาที่ต่ำที่สุด (หรือสูงที่สุด)ซึ่งจะต้องขายต่อให้ผู้บริโภค จากมุมมองด้านนโยบายการ
แข่งขัน การกำหนดราคาขายที่ต่ำที่สุด จะเป็นปัญหาและมีการโต้แย้งว่า การรักษาระดับราคาขายจะทำให้ผู้จำหน่าย
สามารถควบคุมตลาดสินค้าได้ รูปแบบของการกำหนดราคาในแนวดิ่ง อาจป้องกันไม่ให้ส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีก
และราคาขายส่งลดลง หากมีการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ได้มีการโต้แย้งว่า ผู้จำหน่ายอาจต้องการปกป้องชื่อเสียง หรือ
ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และป้องกันจากการที่ผู้ค้าปลีกนำไปใช้เสมือนผู้นำในการขาดทุนเพื่อที่จะดึงลูกค้า เช่นเดียว
กัน โดยการรักษาส่วนต่างของกำไรจากการกำหนดราคาขายปลีก ผู้ค้าปลีกอาจมีแรงจูงใจที่จะใช้ค่าใช้จ่ายด้านบริการ
มากขึ้น ลงทุนในสินค้าคงคลัง โฆษณาและเข้าร่วมในความพยายามอื่นๆ ที่จะเพิ่มความต้องการสินค้าต่อผลประโยชน์
รวมทั้งของผู้จำหน่ายและผู้ค้าปลีก การกำหนดราคาขายปลี กอาจใช้เพื่อป้องกันผู้ค้าปลีกจากการเอาเปรียบ (free
riding) โดยผู้ค้าปลีกที่แข่งขันกัน ซึ่งแทนที่จะเสนอราคาสินค้าที่ต่ำลง และใช้เวลา เงินและความพยายามในการส่งเเสริม
และอธิบายความซับซ้อนทางเทคนิค หรือการมีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ผู้ค้าปลีกรายหนึ่งอาจไม่ลดราคา
สินค้า แต่จะสาธิตและแสดงให้ผู้บริโภคที่ใช้สินค้าที่ซับซ้อนดู เช่น คอมพิวเตอร์ หลังจากที่ลูกค้าได้ข้อมูลนี้ เลือกที่จะซื้อ
คอมพิวเตอร์จากผู้ค้าปลีกซึ่งขายคอมพิวเตอร์ในราคาต่ำ และไม่เสนอการสาธิตหรือแสดงการใช้ให้ดู ในหลายประเทศ
การรักษาระดับราคาขายต่อ เป็นความผิดโดยไม่ต้องพิสูจน์แต่มีข้อยกเว้นบางกรณีหรือบางสินค้า
51. Restriction on Exportation (การจำกัดการส่งออก)
การจำกัดการส่งออก คือ การจำกัดความสามารถในการส่งออกของบริษัท การจำกัดเช่นนี้อาจมาจากรัฐบาล
ตามปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องหรือรักษาทรัพยากรที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับคืนใหม่ได้ หรือสมบัติอันล้ำค่าทาง
วัฒนธรรม ซึ่งอาจมาจากข้อตกลงระหว่างบริษัท เพื่อจำกัดการส่งออกที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการคาร์เทล การจำกัดนี้
อาจเกิดจากการตกลงร่วมกันที่ประเทศที่นำเข้าเจรจาต่อรอง เช่น ในกรณีของการจำกัดการส่งออกรถยนตร์ญี่ปุ่นไปยัง
ประเทศสหรัฐแบบเต็มใจ สุดท้ายการจำกัดการส่งออก อาจเป็นการจัดการใบอนุญาต ซึ่งบริษัทที่ให้ใบอนุญาตจะไม่
อนุญาตให้ส่งออกสินค้าแข่งขันกับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตอื่นๆ หรือบริษัทซึ่งขายใบอนุญาต
52. Restriction of Importation (การจำกัดการนำเข้า)
ตามปกติเป็นมาตรการของรัฐบาล ซึ่งจำกัดความสามารถของผู้ที่เข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการนำเข้า เช่น
ภาษีนำเข้า โควต้า และการจำกัดการส่งออกแบบสมัครใจ โดยภาษีนำเข้า ทำให้สินค้านำเข้าแพงกว่าสินค้า
ภายในประเทศ ส่วนโควต้าส่งผลกระทบต่อการนำเข้าโดยตรง โดยกำหนดจำนวนหน่วยที่มาจากต่างประเทศ และ
สำหรับการจำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ ส่วนใหญ่กำหนดตามประเทศสหรัฐอเมริกา คล้ายกับโควต้าคือจำกัดปริมาณ
แต่แตกต่างจากโควต้าคือกำหนดด้านเดียวโดยประเทศนำเข้า นอกจากนี้ ยังเป็นการตกลงโดยประเทศส่งออกที่จะ
ป้องกันการกำหนดภาษีนำเข้า และ/หรือ โควต้า
53. Rule of Reason (หลักการพิจารณาเหตุผล)
หลักการพิจารณาเหตุผล เป็นวิธีการทางกฎหมายขององค์กรกำกับดูแลการแข่งขันหรือศาล ซึ่งพยายามที่จะ
ประเมินลักษณะที่ส่งเสริมการแข่งขัน (pro‐competitive) ในการปฏิบัติที่เป็นการจำกัดการค้าต่อผลที่ต่อต้านการแข่งขัน
เพื่อที่จะตัดสินว่าควรห้ามการปฏิบัติดังกล่าวหรือไม่ การจำกัดการตลาดซึ่งมีหลักฐานว่าทำให้เกิดประเด็นด้านการ
แข่งขัน อาจพบจากการตรวจสอบเพิ่มเติมว่ามีประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตอาจจำกัดการ
จำหน่ายสินค้าในตลาดเชิงภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันกับผู้ค้าปลีกที่มีอยู่ เพื่อที่จะให้ได้กำไรสูงขึ้นและมีแรงจูงใจที่จะ
โฆษณาสินค้าและให้บริการแก่ลูกค้าดีขึ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการขยายอุปสงค์ในสินค้าของผู้ผลิต มากกว่าการเพิ่ม
ปริมาณที่ปริโภคในราคาที่ต่ำลง คำตรงข้ามกับ Rule of Reason ได้แก่ การปฏิบัติทางธุรกิจที่มีความผิดโดยไม่ต้อง
พิสูจน์per se illegal เช่น การตกลงเพื่อกำหนดราคาและการรักษาราคาขายต่อ เป็นต้น
54. Selling Below Cost (การขายต่ำกว่าทุน)
การขายที่ต่ำกว่าทุนเป็นการปฏิบัติซึ่งบริษัทขายสินค้าต่ำกว่าต้นทุนในการผลิต หรือซื้อเพื่อกำจัดคู่แข่งขันและ/
หรือเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด การปฏิบัตินี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจบางรายมีเงินทุนมาก หรือมีการชดเชยข้าม
ผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้กำไรที่ได้มาจากการขายสินค้าอื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาว่าการขายผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่าต้นทุนเป็นไปได้
ในทางเศรษฐกิจในระยะยาวหรือไม่เพราะบริษัทอาจมีต้นทุนสูงในขณะเดียวกันต้องสูญเสียกำไรที่ควรจะได้รับ
55. Shared or Joint Monopoly (การผูกขาดร่วม)
การผูกขาดร่วมเป็นพฤติกรรมการต่อต้านการแข่งขัน เพื่อที่จะรักษาผลกำไรจากการผูกขาดสำหรับบริษัทที่เป็น
กลุ่ม การผูกขาดร่วมต้องมีการรวมหัวกันบางรูปแบบ แต่ไม่ใช่การตกลงร่วมกันแบบคาร์เทลที่เป็นทางการ ดังนั้น การ
ผูกขาดร่วมจึงคล้ายกับ tacit collusion
56. Shipping Conference (การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ)
การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ กล่าวถึงบริษัทเดินเรือที่รวมตัวในรูปสมาคมเพื่อที่จะตกลงและ
กำหนดค่าระวางสินค้าและค่าธรรมเนียมกับลูกค้าตลอดเส้นทางการขนส่งที่แตกต่างกัน การตกลงทางการขนส่งสินค้า
ทางเรือ นอกจากจะกำหนดอัตราค่าขนส่งแล้ว ยังมีนโยบายมากมายเช่น การจัดสรรลูกค้า สัญญาที่เปิดกว้างด้านราคา
เป็นต้น ก่อนหน้านี้ การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือได้รับการยกเว้นจากกฎหมายการแข่งขันในหลายๆ ประเทศ
แต่ขณะนี้ได้มีการห้ามการตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ เพื่อเป็นการส่งเสริมการแข่งขันและให้ทางเลือกแก่ผู้ส่งออก
มากขึ้น
57. Takeover (การครอบครองกิจการ)
การครอบครองกิจการเป็นการเข้าซื้อกิจการ โดยการที่บุคคลหรือกลุ่มนักลงทุนเพื่อหวังควบคุมบริษัท การ
ครอบครองกิจการ ตามปกติเกิดจากการซื้อหุ้นตามราคาที่สูงกว่าราคาในใบหุ้นและอาจให้เงินช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งรวมถึง
การจ่ายเงินสด และ/หรือการให้หุ้นของบริษัทเป้าหมาย คำว่าการควบรวมกิจการ การเข้าซื้อกิจการ และการครอบครอง
กิจการมักจะใช้แทนกันและมีความแตกต่างระหว่างคำเหล่านี้น้อยมาก การครอบครองกิจการอาจเป็นการครอบครอง
ทั้งหมดหรือบางส่วนและไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานรวมของบริษัท
ที่ต้องการรวมกับบริษัทเป้าหมาย
58. Tied Selling (การขายพ่วง)
การขายพ่วง เป็นสถานะการณ์ซึ่งการขายสินค้าชนิดหนึ่งพร้อมมีเงื่อนไขในการซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่ง และคล้าย
กับ full‐ line forcing ซึ่งผู้ขายบังคับให้ผู้ซื้อที่สนใจสินค้าประเภทหนึ่งเฉพาะต้องซื้อสินค้าทุกประเภท การขายพ่วง
บางครั้งเป็นวิธีการเลือกปฏิบัติด้านราคา การขายพ่วงอาจเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน เนื่องจากการขายพ่วงอาจจำกัด
โอกาสสำคัญของบริษัทอื่นที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หรืออาจเพิ่มอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดสำหรับบริษัทที่ไม่ได้ขาย
สินค้าทุกประเภท การขายพ่วงอาจเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ลดต้นทุนการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า (line of
products) และเป็นการรับรองว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าประเภทเดียวกันที่ใช้เสริมกับสินค้านั้นด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิต
คอมพิวเตอร์กำหนดให้ซื้อแผ่นดิสก์ด้วย เพื่อป้องกันความเสียหายหรือความด้อยประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการใช้
แผ่นดิสก์ที่มีคุณภาพต่ำกว่า การพิจารณาการขายพ่วงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะมีเหตุผลทาง
ธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์จึงใช้หลักของเหตุผลในการพิจารณาการขายพ่วง
59. Vertical Integration (การรวมกันในแนวดิ่ง)
การรวมกันในแนวดิ่ง หมายถึง กรรมสิทธิ์หรือการควบคุมโดยบริษัทในขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกัน เช่น
บริษัทกลั่นปิโตรเลี่ยมเป็นเจ้าของโรงเก็บปิโตรเลี่ยมและเครือข่ายการจัดจำหน่ายปลีกน้ำมันเบนซีน ซึ่งเป็นธุรกิจปลาย
น้ำ ในขณะเดียวกันเป็นเจ้าของบ่อน้ำมันดิบและท่อน้ำมันซึ่งเป็นธุรกิจต้นน้ำ การรวมกันแบบ forward integration คือ
การรวมกันจากขั้นตอนการผลิตไปยังขั้นตอนการจัดจำหน่าย ในขณะที่การรวมกันแบบ backward integration คือ การ
รวมกันจากขั้นตอนการผลิตไปยังขั้นตอนวัตถุดิบ การรวมกันในแนวดิ่งอาจเกิดจากการลงทุนใหม่ๆ และ/หรือการควบ
รวมกิจการในแนวดิ่ง และการเข้าซื้อบริษัทที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตที่ต่างกัน ประโยชน์ที่ได้จากการรวมกันในแนวดิ่ง คือ
ประสิทธิภาพและต้นทุนในการทำธุรกรรมที่ต่ำที่สุด
60. Vertical Restraints (การจำกัดในแนวดิ่ง)
การจำกัดในแนวดิ่งกล่าวถึงการปฏิบัติการบางประเภทในการขายต่อของผู้ผลิตหรือ ผู้จำหน่ายสินค้า เช่น การ
กำหนดราคาขายต่อ การจำกัดสิทธิ์ในการทำธุรกรรมกับบุคคลที่สามและการจำกัดเขตการขายหรือการจำกัดตลาดเชิง
ภูมิศาสตร์ การจำกัดไม่ให้ทำธุรกรรมกับบุคคลที่สามและ/หรือการแบ่งเขตการขาย ผู้จัดจำหน่ายรายเดียวเป็นผู้ที่ได้
สิทธิ์จากผู้ผลิตที่จะจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในกรณีนี้ อำนาจตลาดของผู้จัดจำหน่ายถูกจำกัดโดยการแข่งขันระหว่างตรา
สินค้า วัตถุประสงค์ของผู้ผลิตคือเพื่อให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้จัดจำหน่ายในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์และเสนอบริการที่ดีขึ้น
ให้แก่ลูกค้า
ที่มา : http://www.dit.go.th/songserm/kangkun1.html
กันยายน 2544

นิยาม GDP, GNP และรายได้ประชาชาติ

นิยาม GDP, GNP และรายได้ประชาชาติ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)
หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพยากรที่ใช้
ในการผลิตสินค้า และบริการจะเป็นทรัพยากรของพลเมืองในประเทศหรือเป็นของชาวต่างประเทศ ในทางตรงข้าม
ทรัพยากรของพลเมืองในประเทศแต่ไปทำ การผลิตในต่างประเทศก็ไม่นับรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศมีการจัดทำทั้งตามราคาปัจจุบันและราคาคงที่โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงิน
ตามราคาตลาดของสินค้าและบริการเหล่านั้น ขณะที่ GDP ณ ราคาคงที่คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคาปีที่กำหนดเป็น
ปีฐาน
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ(Gross National Product : GNP)
คือมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง โดยใช้ทรัพยากรที่คนประเทศนั้น ๆ เป็น
เจ้าของ
รายได้ประชาชาติ(National Income : NI)
คือผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ค่าตอบแทนแรงงาน ผลตอบแทนจากที่ดิน ทุน และการประกอบการโดยมี
ความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ประชาชาติดังนี้
NI = GNP - ค่าเสื่อมราคา - (ภาษีทางอ้อม - เงินอุดหนุน)
รายได้ต่อหัว (Per capita GNP)
คำนวณจากผลิตภัณฑ์ประชาชาติหารด้วยจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

นิยามเงินเฟ้อ เงินฝืด

นิยามเงินเฟ้อ เงินฝืด
เงินเฟ้อ คือ
ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อย
เป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและ
ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้า
ภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อ
หาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่ง
ได้จากการสำรวจ ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก
- ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้า
และบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้า
และบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของ
ภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
- ปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของ
ผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตรา
แลกเปลี่ยน
เงินฝืด คือ
ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจาก
ปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของ
ระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

Five-Forces Model

Model นี้ได้ถูกนำเสนอโดย Michael E. Porter ซึ่งได้เคยกล่าวไว้ว่า สภาวะการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ
จะขึ้นอยู่กับสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่องค์กรธุรกิจนั้นอยู่ ซึ่งขึ้นกับปัจจัยที่สำคัญ 5 ประการ หรือที่เรียกว่า
Five-Forces Model ประกอบด้วย
1. ข้อจำกัดในการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งขันใหม่
2. ความรุนแรงของการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
3. ความเสี่ยงจากสินค้าทดแทน
4. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
5. อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์
ความเข้มแข็งของปัจจัยทั้ง 5 ประการ จะเป็นตัวบ่งบอกถึงโอกาสในการได้กำไรของธุรกิจภายใน
อุตสาหกรรมนั้นๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงส่วนประกอบย่อยๆ ของแต่ละปัจจัยอย่างละเอียดเพื่อให้
สามารถวิเคราะห์ถึงโอกาสและความเสี่ยงของอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้
ปัจจัยที่หนึ่ง : ข้อจำกัดในการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งขันใหม่
การเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งรายใหม่จะทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในอุตสาหกรรม ซึ่งอาจส่งผล
กระทบให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมรายเดิมประสบปัญหาได้ ดังนั้นยิ่งมีข้อจำกัดในการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งราย
ใหม่มากเท่าใดก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอยู่แล้วมากเท่านั้น โดยปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดประกอบด้วย
- การประหยัดเนื่องจากขนาด (Economics of Scale) - ผู้ที่จะเข้ามาแข่งขันทำธุรกิจในตลาดใหม่จะต้อง
พบกับแรงกดดันอันเนื่องมาจากการประหยัดด้านต้นทุนการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อสามารถแข่งขันกับ
คู่แข่งรายเดิมที่มีความได้เปรียบในด้านการผลิตรวมทั้งในด้านงานวิจัย งานสั่งซื้อ งานตลาดและช่องทาง
การจัดจำหน่ายอยู่แล้ว เช่น การประหยัดด้านต้นทุนการผลิต คู่แข่งรายใหม่อาจไม่สามารถผลิตสินค้าใน
ปริมาณที่มากพอเพื่อการประหยัดหรือเพื่อก่อให้เกิดต้นทุนการผลิตในอัตราเดียวกับคู่แข่งรายเดิม
เนื่องจากต้องเสี่ยงต่อการจำหน่ายสินค้าไม่หมด ในขณะที่คู่แข่งรายเดิมมีความได้เปรียบในข้อนี้ อีกทั้งยัง
มีความชำนาญในด้านงานตลาดที่ไม่ต้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์มากมายเหมือนกับผู้ที่จะเข้ามาใหม่ที่ต้อง
ทำการตลาดอย่างหนักเพื่อให้ลูกค้ามาซื้อสินค้าตนเอง ดังนั้น ยิ่งอุตสาหกรรมที่มีการประหยัดจากขนาด
มากเท่าใดก็จะทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาแข่งขันยากขึ้น เพราะได้ช่วยให้มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลด
ต่ำลง แต่การที่คู่แข่งรายใหม่จะเริ่มทำการผลิตในปริมาณมากๆ ในทันทีที่เข้าสู่อุตสาหกรรมนั้น นับว่าไม่
ง่ายนัก
- ความแตกต่างของสินค้าและบริการ (Product Differentiation) – คู่แข่งรายใหม่จะพบกับอุปสรรคใน
การทำตลาดสินค้าตนเองและต้องลงทุนด้านการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างมากเพื่อแนะนำสินค้าและจูงใจ
ให้ลูกค้าหันมาซื้อสินค้าของตนเอง เนื่องจากสินค้าของตนนั้นมี Brand Name ต่างจากคู่แข่งรายเดิมและ
ยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาดแข่งขันนี้ จึงเป็นการยากและต้องใช้เวลาในการรณรงค์ให้เป็นที่รู้จักกันดี เมื่อ
เปรียบเทียบกับสินค้าของผู้ประกอบการรายเดิมที่มีการสร้าง Brand Name จนเป็นที่รู้จักกันอย่าง
แพร่หลายและมีฐานลูกค้าที่เป็น Customer Loyalties อยู่ด้วย นอกจากนั้น ยังมีความแตกต่างด้าน
สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับลิขสิทธิ์ซึ่งก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คู่แข่งรายใหม่ไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่าย
นัก และหากลูกค้ายึดติดกับสินค้าที่มีการจดลิขสิทธิ์แล้ว คู่แข่งรายใหม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ
ลิขสิทธิ์เพื่อสามารถทำการผลิตสินค้านี้ซึ่งก่อให้เกิดความเสียเปรียบด้านต้นทุนด้วย
- เงินลงทุน (Capital Requirement) – คู่แข่งรายใหม่ต้องเสี่ยงต่อการลงทุนต่างๆ อาทิ การสร้างโรงงาน
การประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด การพัฒนาและวิจัยตลาดสินค้า ปริมาณวัตถุดิบหรือสินค้าคงเหลือ
เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดต้นทุนการดำเนินงานทั้งสิ้น และหากเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงก็อาจทำ
ให้ผู้ที่จะเข้ามาแข่งขันรายใหม่ไม่กล้าตัดสินใจเข้ามาลงทุน เพราะต้องเสี่ยงต่อการดำเนินงานที่ไม่คุ้มทุน
หรือขาดทุน
- ต้นทุนในการปรับเปลี่ยนไปใช้สินค้าอื่น (Switching Costs) - คู่แข่งรายใหม่จะมีอุปสรรคในการเสนอ
ขายสินค้าแข่งขันกับผู้ขายรายเดิม เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องการที่จะหันไปใช้สินค้าอื่นที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่
ต้องการเสียเงินเพื่อการปรับเปลื่ยนกระบวนการบางอย่างอันเนื่องมาจากสินค้าที่ผลิตใหม่มีลักษณะการ
ใช้งานไม่เหมือนกัน หรือบางกรณีลูกค้าที่ซื้อสินค้าใหม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดสอบ
ประสิทธิภาพหรือต้องการคำแนะนำด้านเทคนิค ฯลฯ หากมีความยุ่งยากในเรื่องเหล่านี้ ลูกค้าจะไม่หัน
มาซื้อสินค้าที่คู่แข่งรายใหม่ผลิต ดังนั้นคู่แข่งรายใหม่อาจต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าเดิมเพื่อชักจูงให้ลูกค้า
หันมาซื้อสินค้าตนเองด้วยการลดราคาให้ต่ำกว่าหรือปรับเปลี่ยนคุณภาพสินค้าของตนเองให้ดีกว่าคู่แข่ง
รายเดิม
- การเข้าถึงช่องทางการจำหน่าย (Access to Distribution Channels) - คู่แข่งรายใหม่จะต้องใช้ความ
พยายามที่จะเข้าไปแทรกแซงช่องทางการจัดจำหน่ายโดยชักจูงหรือให้ข้อเสนอที่ดีกว่าเพื่อให้พ่อค้าส่ง
(Wholesale) และพ่อค้าปลีก (Retailer) จัดวางสินค้าของตนเองเพื่อการจำหน่ายต่อให้ลูกค้าด้วย เพราะ
คู่แข่งรายเดิมย่อมมีความสัมพันธ์ที่ดีแน่นแฟ้นกับพ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีกดีอยู่แล้ว หากว่าสินค้าเดิมมี
คุณภาพดีและมี Brand เป็นที่รู้จักกันในตลาด จึงเป็นการยากที่คู่แข่งรายใหม่จะเข้ามีส่วนแบ่งในด้าน
ช่องทางการจัดจำหน่ายเดิมที่มีอยู่ และในบางครั้งอาจต้องหาช่องทางจัดจำหน่ายใหม่เสียเลย
- ความเสียเปรียบด้านต้นทุน (Cost Disadvantages) - คู่แข่งรายใหม่จะมีข้อจำกัดด้านต้นทุนการ
ดำเนินงานซึ่งมีตัวแปรที่เกี่ยวข้อง อาทิ การเสียเงินลงทุนเพื่อซื้อลิขสิทธ์การผลิตหรือซื้อความรู้ด้าน
เทคโนโลยีการผลิตและอื่นๆ การที่ต้องซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูง รวมทั้งสาเหตุจากการมีประสบการณ์ใน
การบริหารงานและความชำนาญ ซึ่งมีปัจจัยนี้มากก็จะยิ่งเป็นผลดีกับผู้ประกอบการรายเดิม
- นโยบายของรัฐบาล เช่น การให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องมีการขอสัมปทานจากภาครัฐ จะ
เป็น Barrier to Entry ต่อผู้ให้บริการรายใหม่ขณะเดียวกันก็จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรายเดิม
ในทางตรงกันข้ามหากในระยะต่อไปรัฐบาลมีการเปิดเสรีการบริการ นโยบายของภาครัฐก็จะกลายเป็น
แรงกดดันต่อผู้ประกอบการรายเดิมแทน
ปัจจัยที่สอง : ความรุนแรงของการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
การแข่งขันที่รุนแรง ไม่เป็นผลดีต้อผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรม เพราะนั่นหมายถึงส่วนแบ่งตลาดที่
ลดลง นอกจากนี้การแข่งกันลดราคาก็จะนำไปสู่การลดลงของ margin และผลกำไรที่จะต้องหดหายไปในที่สุด ซึ่ง
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความรุนแรงของการแข่งขันนั้น มีดังต่อไปนี้
- จำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม หากมีจำนวนมากย่อมส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรง แต่อาจมีบาง
กรณีที่แม้จะมีจำนวนผู้ประกอบการน้อยราย และแต่ละรายมีสัดส่วนการครองตลาดใกล้เคียงกันก็อาจ
ส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงได้เช่นกัน
- อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ยิ่งอุตสาหกรรมมีการเติบโตในอัตราที่สูงก็ยิ่งสามารถดูดซับ
เอาการแข่งขันที่รุนแรงไปได้เท่านั้น
- มูลค่าของต้นทุนคงที่หากอุตสาหกรรมใดมีการใช้ต้นทุนคงที่สูงจะมีความจำเป็นต้องคงขนาดของการใช้
อัตรากำลังการผลิตไว้สูงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยคุ้มค่าที่จะเดินสายพานการผลิต และจะมี
ความเสี่ยงต่อการแข่งขันมาก เพราะเมื่อ demand ในตลาดลดลงผู้ประกอบการต่างๆจะไม่สามารถลด
supply ลงมาให้เท่ากับ demand ได้ และจะเกิดภาวะ oversupply ได้ง่าย
- ความเหมือนหรือความต่างของสินค้าและบริการ ยิ่งสินค้ามีความต่างกันมาก การแข่งขันจะยิ่งน้อยลง
เพราะจะมีbrand loyalty เกิดขึ้น
- ข้อจำกัดในการออกจากอุตสาหกรรม ปัจจัยนี้จะครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ กลยุทธ์ และจิตวิทยา
ซึ่งหากอุตสาหกรรมใดมีการออกจากอุตสาหกรรมยากจะทำให้การแข่งขันสูงขึ้น
- ความแตกต่างทางพื้นฐานของการแข่งขัน (Density of Rival) เพราะในแต่ละอุตสาหกรรมมีกลยุทธ์
การแข่งขันแตกต่างกันหลายด้านบางอุตสาหกรรมอาจต้องใช้การแข่งขันที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรม
สิ่งทอนอกจากจะต้องแข่งขันด้านราคากับจีนแล้ว ยังต้องแข่งด้านคุณภาพกับยุโรป และการแข่งขันกันเอง
ภายในประเทศในด้านรูปแบบหรือ design แบบเสื้อผ้าให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นปัจจัยลบของ
อุตสาหกรรม เพราะผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมจะต้องระวังรอบด้าน และการวางกลยุทธ์จะยากขึ้น
- โครงสร้างการแข่งขันในอุตสาหกรรม โดยพิจารณาว่าเป็นการแข่งขันสมบูรณ์ หรือแข่งขันน้อยราย
- Switching Cost ของผู้บริโภค คล้ายๆ กับ Forces ที่ 1 แต่เป็นต้นทุนการสับเปลี่ยนสินค้าของ
ผู้ประกอบการรายเดิมที่อยู่ในอุตสาหกรรมอยู่แล้ว
ปัจจัยที่สาม : ความเสี่ยงจากสินค้าทดแทน
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ผลิตทำการค้นหาสินค้าอื่นมาทดแทน ได้แก่ ต้นทุนราคาสินค้าที่ต่ำกว่า คุณภาพ
สินค้าที่ผลิตได้มีประสิทธิภาพมากกว่า และสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น หรือสามารถตอบสนองต่อความ
ต้องการของลูกค้าที่อาจแปรเปลี่ยนไปจากความต้องการแบบเดิม ดังนั้นจึงก่อให้เกิดการแข่งขันในด้านการตัดราคา
หรือเป็นการแข่งขันด้านการปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือบริการให้เหนือกว่าเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่ง
หากลูกค้าตอบสนองต่อสินค้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนกันได้ก็จะทำให้ผู้ผลิตอยู่ในฐานะที่จะกำหนดราคาในระดับที่
ให้กำไรสูงได้ จนทำให้คู่แข่งรายอื่นๆ ทำการแข่งขันด้านราคาหรือเปลี่ยนกลยุทธ์ในการคิดค้นหาวิธีผลิตสินค้าที่จะ
มาทดแทนในรูปแบบใหม่บ้าง
ปัจจัยที่สี่: อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
ผู้ซื้อจะสร้างแรงกดดันให้ผู้ขายจนทำให้ต้องลดราคาให้ถูกลง ปรับคุณภาพสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้น ซึ่งผู้
ซื้อจะมีอิทธิพลเหนือผู้ขาย ดังนี้
- ผู้ซื้อทำการสั่งซื้อในปริมาณที่มากเมื่อเทียบกับยอดการขายของผู้ขาย ผู้ซื้อย่อมมีอำนาจในการต่อรอง
- ผู้ซื้อต้องใช้เงินมากเพื่อทำการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสินค้า และคิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่สูงเมื่อเทียบกับ
ต้นทุนการผลิต ผู้ซื้ออาจยอมเสียค่าใช้จ่ายในการเสาะหาสินค้าอื่นที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ ผู้
ซื้อจะใช้แรงกดดันนี้มาเป็นข้อต่อรองทำให้ผู้ขายตกอยู่ในสภาพที่มีอำนาจด้อยกว่าผู้ซื้อ
- ผู้ซื้อสามารถเสาะแสวงหาวัตถุดิบหรือสินค้าจากแหล่งอื่นๆ ได้ เพราะเป็นวัตถุดิบหรือสินค้าที่มีคุณภาพ
ไม่แตกต่างกันมีมาตรฐานเดียวกัน โดยจะเลือกซื้อจากผู้ขายรายใดก็เหมือนกัน
- ต้นทุนการที่ผู้ซื้อจะหันไปซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าจากแหล่งอื่น (Switching Costs) ไม่สูงมากนัก
- เมื่อผู้ซื้อขาดความสามารถในการทำกำไรในระดับที่น่าพึงพอใจ จึงต้องพยายามลดต้นทุนจากการสั่งซื้อ
จึงมักสร้างแรงกดดันให้ผู้ขายโดยการต่อรองในเงื่อนไขต่างๆ
- ผู้ซื้อสามารถทำBackward Integration และกลายมาเป็นคู่แข่ง
- วัตถุดิบหรือสินค้าที่ผู้ซื้อนำมาใช้ในกระบวนการผลิตไม่ถือเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นหรือมิได้เป็นปัจจัยที่
จะมีผลกระทบต่อคุณภาพสินค้าหรือบริการของผู้ซื้อวัตถุดิบ ดังนั้นผู้ซื้อย่อมมีอิทธิพลเหนือผู้ค้าวัตถุดิบ
- ผู้ซื้อมีความรู้เกี่ยวกับตลาดวัตถุดิบหรือสินค้านี้เป็นอย่างดี เช่น มีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการและ
โครงสร้างราคาวัตถุดิบของผู้ค้ารายอื่นๆ จึงสามารถนำมาใช้เป็นข้อต่อรองเพื่อสร้างแรงกดดันให้ผู้ค้า
ปัจจัยที่ห้า : อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์
ผู้ค้าวัตถุดิบสามารถสร้างแรงกดดันต่อผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมด้านการปรับระดับราคาให้สูงขึ้น
หรือปรับลดคุณภาพสินค้าหรือบริการให้ต่ำลง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องเสียกำไรไปจากการที่วัตถุดิบมีราคา
สูงขึ้น ปัจจัยที่ส่งให้ผู้ค้าวัตถุดิบสามารถสร้างแรงกดดันได้ คือ
- มีผู้ค้าวัตถุดิบน้อยรายขณะที่มีผู้ต้องการซื้อจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้ผู้ค้ามีอิทธิพลเหนือผู้ซื้อทั้งในด้าน
ราคา คุณภาพ และเงื่อนไขการซื้อขายอื่นๆ
- เป็นผู้ค้าวัตถุดิบที่ไม่มีสิ่งอื่นมาทดแทน
- ผู้ค้าวัตถุดิบไม่เห็นความสำคัญของลูกค้า เพราะมิได้เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากยอดการสั่งซื้อไม่
สูงมากเมื่อเทียบกับปริมาณการขายทั้งหมดของผู้ขาย
- วัตถุดิบของผู้ค้าเป็นสิ่งจำเป็นต่อกระบวนการผลิตของลูกค้า
- วัตถุดิบของผู้ค้ามีลักษณะเด่นที่ลูกค้าอาจจะต้องเผชิญกับต้นทุนการเปลี่ยนแปลงในการหาวัตถุดิบจาก
แหล่งอื่น (Switching Costs)
- ผู้ค้าวัตถุดิบสามารถทำForward Integration เพื่อกลายมาเป็นคู่แข่ง
มิติของการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน
Backward Integration
- ข้อต่อรองของผู้ซื้อวัตถุดิบเพื่อสร้างแรงกดดันให้ผู้ค้า โดยที่กลุ่มผู้ซื้อวัตถุดิบจะเข้าไปทำการผลิต
วัตถุดิบ (Inputs) เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตเอง เช่น ผู้ซื้อที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์และต้องใช้เหล็กมา
เป็น Inputs สำหรับในการประกอบรถยนต์จะเข้าไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตเหล็กเอง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้กับธึชุรกิจตนเองด้วยการดำเนินงานที่ครบวงจร และสามารถควบคุมต้นทุนการดำเนินงานได้ กลุ่ม
ผู้ค้าวัตถุดิบย่อมเสียเปรียบในด้านข้อต่อรองรูปแบบนี้ เพราะหากปล่อยให้ผู้ค้าวัตถุดิบเข้ามาแข่งขันใน
อุตสาหกรรมที่ตนทำการผลิตอยู่แล้ว จะส่งผลกระทบให้มีคู่แข่งเพิ่มขึ้นจนทำให้ส่วนแบ่งตลาดและกำไร
ต้องหดหายไป
Forward Integration
- ข้อต่อรองของผู้ค้าวัตถุดิบเพื่อสร้างแรงกดดันให้ผู้ซื้อวัตถุดิบ ในลักษณะนี้จะเป็นกลยุทธ์ที่ตรงกันข้าม
กับ Backward Integration โดยกลุ่มผู้ค้าวัตถุดิบจะรวมตัวกันเข้าไปทำการผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุดิบของ
ตนเองมาเป็นส่วนประกอบในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ Outputs เสนอขายให้ลูกค้าแข่งกับผู้ซื้อวัตถุดิบ
เช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็น Inputs ให้บริษัทประกอบนาฬิกา (Outputs) จะเข้าไปลงทุน
ประกอบนาฬิกาด้วยเพื่อให้เป็นธุรกิจภายในกลุ่มของตนเองแบบครบวงจร และจะแข่งกันในตลาดสินค้า
นาฬิการ่วมกับบรรดาบริษัทที่เคยสั่งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มาประกอบเป็นนาฬิกา (Outputs)
Switching Costs
- กรณีที่เป็นข้อจำกัดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาแทรกแซงใหม่ (New Entrants) เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก
ผู้ประกอบการเดิม ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาใหม่มักมีความเสียเปรียบในด้านต้นทุนการผลิต เช่น ต้องใช้จ่ายเงิน
เป็นจำนวนมากเพื่อชักจูงให้ผู้ซื้อหันมาซื้อสินค้าตนเองแทน หรือมิฉะนั้นจะต้องใช้เงินเพื่อการทุ่มเท
โฆษณาสินค้าหรือผลิตสินค้าให้มีลักษณะเด่นหรือมีคุณภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งเดิม
- กรณีที่สร้างแรงกดดันให้กับผู้ค้าวัตถุดิบ (Suppliers) คือการที่ผู้ซื้อสามารถหันไปซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าจาก
แหล่งอื่นได้ง่ายและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เช่น การที่โรงงานผลิตน้ำผลไม้อาจหันไปซื้อน้ำตาล
จากโรงงานผลิตน้ำตาลแห่งอื่นที่อยู่ใกล้ที่ตั้งโรงงานของตนแทนการสั่งซื้อจากผู้ค้ารายเดิม ดังนั้น ผู้ค้า
รายเดิมจะได้รับแรงกดดันและต้องหากลยุทธ์หรือบริการให้แตกต่างจากผู้ค้ารายอื่น เป็นต้น
- กรณีที่สร้างแรงกดดันให้ผู้ซื้อ (Buyers) คือการที่ผู้ซื้อไม่สามารถหันไปหาแหล่งวัตถุดิบนี้จากที่อื่นได้
เนื่องจากเป็นวัตถุดิบหรือสินค้าที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อการผลิตสินค้า
ของผู้ซื้อ หากผู้ซื้อหันไปซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าจากแหล่งอื่นจะทำให้ลูกค้ามีความเสี่ยงสูงมาก เช่น เสี่ยง
ต่อความปลอดภัยในการใช้งาน หรือต้องดัดแปลงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตให้สามารถรองรับต่อวัตถุดิบ
ชนิดใหม่ หรือต้องขอความช่วยเหลือด้านเทคนิคจากผู้ค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการ
ดำเนินงานและยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายด้วย
Substitute Products
- สินค้าทดแทนที่สร้างแรงกดดันให้เกิดการแข่งขัน หากสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่
ต้องการสินค้าที่ทดแทนกันได้ในราคาที่ถูกกว่าและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกัน
ดังนั้น สินค้าที่มาทดแทนจะสร้างแรงกดดันให้คู่แข่งขันรายอื่นๆ ต่างรณรงค์ต่อต้านการลดราคาด้วยการ
ปรับปรุงสินค้าและบริการให้เหนือกว่า ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายและส่งผลกระทบต่อกำไร
- สินค้าทดแทนที่เป็นแรงกดดันต่อผู้ค้า (Suppliers) เนื่องจากผู้ค้าต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้ผู้ผลิตสินค้า
ทดแทนที่เข้ามาเสนอสินค้าให้ลูกค้าในตลาดนี้ ผู้ค้าจึงได้รับแรงกดดันที่จะต้องแข่งขันมิให้สูญเสียส่วนแบ่ง
ตลาดและกำไร ด้วยการลดราคา หรือพัฒนาสินค้าของตนเองให้มีลักษณะเด่นจนไม่มีสินค้าอื่นมา
ทดแทนได้
- สินค้าทดแทนที่เป็นแรงกดดันต่อผู้ขาย (Buyers) เนื่องจากสินค้าทดแทนที่ผู้ซื้อนำมาใช้ในกระบวนการ
ผลิตอาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมาก เพราะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรหรือดัดแปลงกระบวนการผลิตในบาง
ขั้นตอนเพื่อให้รองรับต่อสินค้าทดแทน ดังนั้น หากสินค้าทดแทนมีความยุ่งยากในวิธีการใช้งาน ผู้ซื้ออาจ
หันไปใช้สินค้าเดิมที่คุ้นเคยอยู่แล้ว
สรุป
กรอบการวิเคราะห์โครงสร้างอุตสาหกรรมและการแข่งขันควรพิจารณาถึงปัจจัย 5 ประการ (Five Forces)
และการดำเนินกลยุทธ์ที่จะขจัดตัวแปรที่มีอิทธิพลเหล่านั้นให้หมดไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างข้อได้เปรียบทางการ
แข่งขัน ซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันจะปรากฏให้เห็นจากการทำกำไรที่สูงกว่าองค์กรอื่นที่อยู่ภายใน
อุตสาหกรรมเดียวกัน และเป็นการทำกำไรที่สูงอย่างต่อเนื่องและการมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันจะขัดขวางการเข้า
มาขององค์กรรายใหม่ได้ และถ้าไม่มีผู้เข้ามาแข่งขันรายใหม่แล้วองค์กรจะหลุดพ้นการแข่งขันจากผู้ที่เข้าใหม่ และ
สามารถรักษาความเป็นผู้นำทางการตลาดได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพด้วย
นอกจากการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ขึ้นอยู่กับการขจัดตัวแปรที่กล่าวแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ
ความสามารถในการใช้ทรัพยากรภายในให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการสร้าง Value Chain ภายในองค์กรให้มี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย