วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ศัพท์องค์การอุตสาหกรรม

ศัพท์องค์การอุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์และกฎหมายแข่งขัน
สำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
Glossary of Industrial Organization กลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมระบบฯ
Economics and Competition Law
1. Abuse of Dominant Position (การใช้สถานะการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดในการจำกัดการ แข่งขัน)
พฤติกรรมทางการค้าที่จำกัดการแข่งขันโดยบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด เพื่อที่จะรักษาหรือเพิ่มสถานะใน
ตลาด ซึ่งถือว่าเป็น "การใช้ประโยชน์จากการมีอำนาจเหนือตลาดโดยไม่เหมาะสมหรือมิชอบ" เพื่อควบคุมตลาด และ
มุ่งหมายที่จะจำกัดการแข่งขันพฤติกรรมทางการค้า ที่ถือว่าเป็นการใช้อำนาจในการจำกัดหรือกีดกันการแข่งขัน จะ
เปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม อาจรวมถึงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ การตั้งราคาสูงเกินไป (excess prices) การ
เลือกปฏิบัติด้านราคา (price discrimination) การขายสินค้าตัดราคา (predatory pricing) การสร้างเงื่อนไขที่ไม่เป็น
ธรรมด้านราคาโดยบริษัทที่รวมตัวกัน (price squeezing by integrated firms) การปฏิเสธที่จะขาย หรือทำธุรกรรมด้วย
(refusal to deal/sell) การขายพ่วง (tied selling) หรือการบังคับซื้อ (product bundling) และการให้สิทธิ์ในการซื้อได้
ก่อน (pre‐emption of facilities).
2. Acquisition (การเข้าซื้อกิจการ)
การที่บริษัทหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือเข้าควบคุมบริษัทอื่นบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากการควบรวม
ธุรกิจ (merger) คือการเข้าซื้อกิจการไม่จำเป็นต้องเป็นการรวมบริษัท (amalgamation) หรือการควบรวมธุรกิจ
(merger) แต่เป็นการรวมสินทรัพย์ของทุกบริษัทจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ (consolidation) แม้ว่าการเข้าซื้อกิจการจะมีการ
เปลี่ยนการเข้าควบคุมโดยสิ้นเชิง แต่บริษัทที่เกี่ยวข้องอาจจะยังคงดำเนินการเป็นอิสระอยู่ แม้กระนั้นการควบคุมบริษัท
ร่วมกันเพื่อแสวงหากำไรให้ได้มากที่สุดและเป็นเรื่องที่องค์กรกำกับดูแล การแข่งขันให้ความสนใจ
3. Agreement to lessen or restrict competition (การทำความตกลงร่วมกันเพื่อลดหรือจำกัดการแข่งขัน)
การทำความตกลงร่วมกัน หมายถึง การทำความตกลงร่วมกันทั้งแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผย เพื่อผลประโยชน์
ร่วมกันระหว่างบริษัท การทำความตกลงที่จะจำกัดการแข่งขันอาจเป็นเรื่องราคา การผลิต ตลาด และลูกค้า ซึ่งการทำ
ความตกลงประเภทนี้ มักจะเหมือนกับคาร์เทล (cartel) หรือการสมรู้ร่วมคิด (collusion) และศาลจะถือว่าเป็นการฝ่า
ฝืนกฎหมายการแข่งขัน เนื่องจากมีผลเพิ่มราคาสินค้า จำกัดผลผลิต และผลที่เกิดขึ้นเป็นผลร้ายต่อเศรษฐกิจการทำ
ความตกลงร่วมกันอาจเป็นแบบเป็นทางการและอาจเขียนเงื่อนไขต่าง ๆ เป็นลายลักษณ์อักษรที่เด่นชัดหรือไม่เด่นชัดแต่
เป็นที่เข้าใจตรงกันในหมู่สมาชิก การทำความตกลงร่วมกันที่เด่นชัด ไม่จำเป็นต้องเป็นการทำความตกลงแบบเป็น
ทางการและ "เปิดเผย" ซึ่งผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ที่ตกลงร่วมกันสามารถสังเกตเห็น ในความเป็นจริงแล้ว การทำความตกลง
ร่วมกันที่เป็นการจำกัดการแข่งขัน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบซ่อนเร้น ซึ่งองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันไม่สามารถตรวจพบได้
ง่าย ไม่ใช่การตกลงร่วมกันทุกประเภทจะเป็นผลร้ายต่อการแข่งขัน หรือถูกห้ามตามกฎหมายการแข่งขัน กฎหมายการ
แข่งขันในหลายประเทศยกเว้นการจัดการร่วมกันระหว่างบริษัท ซึ่งอาจส่งเสริมประสิทธิภาพ หรือ การเปลี่ยนแปลงใน
ตลาด ตัวอย่างเช่น อาจยอมให้มีการตกลงร่วมกันระหว่างบริษัท ในการที่จะพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบบ
เดียวกัน เพื่อที่จะส่งเสริมการประหยัดต่อขนาด เพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ และการเผยแพร่เทคโนโลยี ในทำนองเดียวกัน
อาจยอมให้บริษัทร่วมมือกัน ในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางสถิติ หรือการลงทุน
ร่วมกัน เพื่อกระจายความเสี่ยงและก่อตั้งกองทุนรวมในโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม การยกเว้นนี้
โดยทั่วไปมีพื้นฐานมาจากการทำความตกลงร่วมกัน หรือ การจัดการที่ไม่ใช่การกำหนดราคา หรือ พฤติกรรมที่จำกัด
การแข่งขันประเภทอื่น
4. Anti‐competitive Practices (พฤติกรรมที่ต่อต้านการแข่งขัน)
พฤติกรรมการค้าต่างๆ โดยบริษัทหรือกลุ่มบริษัทในการที่จะจำกัดการแข่งขันระหว่างบริษัท เพื่อรักษาหรือเพิ่ม
สถานะในตลาดและผลกำไร โดยไม่จำเป็นต้องขายสินค้าและให้บริการในราคาต่ำลงหรือมีคุณภาพสูงขึ้น ปัจจัยสำคัญ
ของการแข่งขัน คือ บริษัทจะต้องมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การดำเนินการทางการค้าอาจถูกคัดค้าน ถ้าหากบริษัท
พยายามที่จะจำกัดการแข่งขัน โดยการไม่สร้างความได้เปรียบ แต่ใช้สถานะในตลาดของตนเพื่อที่จะทำให้คู่แข่ง ลูกค้า
และผู้ขายเสียเปรียบ ซึ่งทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ผลผลิตลดลง ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลง สูญเสียประสิทธิภาพทาง
เศรษฐกิจและการจัดสรรทรัพยากรไม่เหมาะสม พฤติกรรมทางการค้าประเภทใดน่าจะถือว่าเป็นการลดการแข่งขันและ
ฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่กรณี อาจเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายโดยไม่ต้องพิสูจน์ (per se
illegal) หรือพิจารณาภายใต้หลักเหตุผล (rule of reason) ตัวอย่างเช่น การกำหนดราคาขายต่อ (resale price
maintenance) ส่วนใหญ่จะถือว่าผิดกฎหมาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ ในขณะที่การร่วมกันจำกัดมิให้บุคคลที่สามซื้อสินค้าหรือ
บริการจากผู้ประกอบการอื่น (exclusive dealing) อาจพิจารณาภายใต้หลักเหตุผล ในประเทศสหรัฐ การตกลงร่วมกัน
กำหนดราคาเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยไม่ต้องพิสูจน์ ในขณะที่ในประเทศแคนาดา การตกลงร่วมกันจะต้องมีผล
ครอบคลุมตลาดส่วนใหญ่ พฤติกรรมจำกัดการแข่งขันแบ่งออกได้เป็นการจำกัดในแนวนอนและแนวดิ่ง พฤติกรรมใน
แนวนอนรวมถึงคาร์เทล (cartel) การสมรู้ร่วมคิด (collusion) การสมคบกัน (conspiracy) การควบรวมกิจการ
(merger) การกำหนดราคาขายต่ำ (predatory pricing) การเลือกปฏิบัติด้านราคา (price discrimination) และการตก
ลงร่วมกันกำหนดราคา (price fixing) พฤติกรรมประเภทที่สองรวมถึงการจำกัดมิให้บุคคลที่สามซื้อสินค้าหรือบริการ
จากผู้ประกอบการอื่น (exclusive dealing) การจำกัดตลาดในเชิงภูมิศาสตร์ (geographic market restrictions) การ
ปฏิเสธที่จะขายหรือทำธุรกรรมด้วย (refusal to deal/sell) การกำหนดราคาขายต่อ (resale price maintenance) และ
การขายพ่วง (tied selling) โดยทั่วไปแล้ว การจำกัดในแนวนอนจะต้องมีคู่แข่งขันในตลาดใน ขณะที่การจำกัดในแนวดิ่ง
จะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายและผู้จัดจำหน่าย อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างการจำกัด ในแนวนอนและ
แนวดิ่งมักจะไม่ชัดเจนและพฤติกรรมประเภทหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมอีกประเภทหนึ่ง
5. Antitrust (การต่อต้านการผูกขาด)
การต่อต้านการผูกขาด เป็นกฎหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดำเนินการกับการผูกขาดและพฤติกรรม
ผูกขาด กฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือนโยบายต่อต้านการผูกขาดเป็นคำที่ใช้ในประเทศสหรัฐ ในขณะที่ประเทศอื่นใช้
คำว่ากฎหมายหรือนโยบายการแข่งขัน บางประเทศใช้วลีว่า "กฎหมายการค้าที่เป็นธรรมหรือกฎหมายต่อต้านการ
ผูกขาด (Fair Trading or Antimonopoly Law) " กฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือกฎหมายการแข่งขันส่วนใหญ่มี
ข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้าง เช่น การควบรวมธุรกิจ (merger) การผูกขาด(monopoly) สถานะการมีอำนาจเหนือตลาด
(dominant ‐market position) และการกระจุกตัว (concentration) รวมทั้งพฤติกรรมเช่น การสมรู้ร่วมคิดกัน
(collusion) การกำหนดราคา (price fixing) และการกำหนดราคาขายต่ำ(predatory pricing)
6. Barrier to Entry (อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด)
อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด เป็นปัจจัยซึ่งป้องกันหรือขัดขวางการเข้าสู่อุตสาหกรรมของบริษัทใหม่ แม้แต่เมื่อ
บริษัทที่มีอยู่เดิมมีกำไรมากเกินพอ อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทกว้างๆ คือ อุปสรรคทาง
โครงสร้าง และ อุปสรรคทางกลยุทธ์ อุปสรรคทางโครงสร้างเกิดจากลักษณะ พื้นฐานของ อุตสาหกรรมเช่น เทคโนโลยี
ต้นทุน และอุปสงค์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคทางโครงสร้าง น่าจะเป็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ความได้เปรียบด้าน
ต้นทุนของผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาด และการประหยัดต่อขนาด ต้นทุนจม ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ทำให้
ผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดได้เปรียบ เนื่องจากผู้เข้าสู่ตลาดรายใหม่จะต้องเอาชนะความเชื่อถือต่อตราสินค้าของ
ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาด ความได้เปรียบด้านต้นทุน หมายความว่า ผู้เข้าสู่ตลาดรายใหม่จะมีต้นทุนต่อหน่วยของ
ผลิตภัณฑ์สูง บางครั้งน่าจะเป็นเพราะความเสียเปรียบทางเทคโนโลยี การประหยัดต่อขนาด จะจำกัดจำนวนของบริษัท
ซึ่งสามารถดำเนินการให้มีต้นทุนต่ำตามขนาดที่กำหนด บางครั้งต้นทุนจมที่ไม่สามารถเรียกคืนได้เมื่อเลิกกิจการ ถือว่า
เป็นอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดด้วย รัฐบาลอาจเป็นต้นเหตุของอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดได้โดยการออกใบอนุญาตและ
การออกระเบียบต่าง ๆ และอุปสรรคทางกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดเกิดจากพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในตลาด
เช่น pre‐emption of facilities โดยผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในตลาดลงทุนด้านปริมาณสูงสุดในการผลิต เพื่อที่จะทำ
สงครามด้านราคาหากมีการเข้าสู่ตลาดโดยผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ เป็นต้น
7. Bid Rigging (การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูล)
การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูลเป็นรูปแบบเฉพาะรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมการรวมหัวกันกำหนดราคา
โดยบริษัทที่ร่วมกันประมูล ซึ่งมี2 แบบคือ บริษัทตกลงที่จะยื่นประมูลร่วมกันซึ่งเป็นการจำกัดการแข่งขันด้านราคา และ
บริษัทตกลงร่วมกันว่าบริษัทใดจะเป็นผู้ประมูลราคาต่ำที่สุดและสับเปลี่ยนกันในวิธีที่จะทำให้แต่ละบริษัทชนะการประมูล
ตามจำนวนของสัญญาที่ตกลงกันไว้ การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูลเป็นรูปแบบของการตกลงร่วมกันที่ใช้อย่าง
กว้างขวางที่สุด
8. Brand Competition (intra‐and inter brand) (การแข่งขันในด้านตราสินค้า- เดียวกันและต่างกัน)
บริษัทที่ขายสินค้าต่างกัน มักจะพัฒนาและแข่งขันกันจากตราสินค้าหรือฉลาก เช่น โคคา โคล่า กับ เปปซี่ โค
ล่า เป็นการแข่งขันระหว่างตราสินค้า ผู้ซื้อต่างกันอาจต้องการซื้อสินค้าคนละตราสินค้า แม้ว่าจะต้องซื้อในราคาที่สูงขึ้น
หรือบ่อยขึ้น การแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกัน เป็นการแข่งขันระหว่างผู้ค้าปลีกและผู้จัดจำหน่ายในตราสินค้า
เดียวกัน การแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกันอาจเป็นการแข่งขันด้านราคาหรือด้านที่ไม่ใช่ราคา ตัวอย่างเช่น ยีนส์ลี
วายส์ อาจขายในราคาที่ต่ำกว่าใน discount store หรือ specialty store เทียบกับห้างสรรพสินค้า แต่ไม่ให้บริการดี
เท่ากับห้างสรรพสินค้า การให้บริการที่ดีทำให้ เกิดการแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกันในด้านที่ไม่ใช่ราคา ผู้ผลิตบาง
รายพยายามที่จะกำหนดราคาขายปลีกสินค้าของตนให้เป็นแบบเดียวกัน และป้องกันการแข่งขันภายในตราสินค้า
เดียวกัน โดยการกำหนดราคาขายต่อ (resale price maintenance) เพื่อที่จะกระตุ้นการแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกัน
ในด้านที่มิใช่ราคาถ้าหากการทำเช่นนั้นจะเป็นการเพิ่มยอดขายสินค้า
9. Bundling (การบังคับซื้อ )
การบังคับซื้อ หมายถึงการขายคู่กันเป็นแพคเกจ เช่น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อาจกำหนดให้ลูกค้าซื้อ ส่วนประกอบ
ทั้งหมดพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นดิสก์ และกระดาษพิมพ์ และอาจขายเป็นแพคเกจ เช่น รถยนตร์
ประกอบด้วย options ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเกียร์อัตโนมัติ วิทยุ และเครื่องปรับอากาศรถยนตร์ การพิจารณาเรื่องการบังคับ
ซื้อต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไปโดยพิจารณาตามหลักเหตุผล
10. Cartel (คาร์เทล)
การตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการ ระหว่างบริษัทในอุตสาหกรรมที่มีผู้ขายน้อยราย สมาชิกของคาร์เทล จะตก
ลงร่วมกันในเรื่องราคา ผลผลิตในอุตสาหกรรมทั้งหมดส่วนแบ่งตลาด การจัดสรรลูกค้า การแบ่งเขต การตกลงร่วมกัน
กำหนดราคาประมูล การจัดตั้งองค์การขายร่วมกัน และการแบ่งกำไร เป็นต้น คาร์เทลในความหมายนี้คล้ายกับการสมรู้
ร่วมคิดกันแบบเปิดเผย คาร์เทลเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของบริษัทสมาชิก โดยทั่วไปแล้ว พฤติกรรมแบบคาร์เทลพ
ยายามที่จะเลียนแบบพฤติกรรมการผูกขาด โดยการจำกัดผลผลิตของอุตสาหกรรม การขึ้นราคาสินค้าหรือกำหนดราคา
สินค้าเพื่อให้ได้กำไรสูงขึ้นคาร์เทลแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผย มีลักษณะ ต่อไปนี้
คาร์เทลแบบเปิดเผย รัฐบาลอาจกำหนดและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับราคาผลผลิตและอื่น ๆ export
cartelsและ การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ (shipping conference) เป็นตัวอย่างของคาร์เทลแบบเปิดเผย
คาร์เทลแบบไม่เปิดเผย จะต้องเป็นการทำความตกลงร่วมกันที่มีเงื่อนไขที่จะก่อประโยชน์ร่วมกัน แต่
บุคคลภายนอกจะไม่รู้ คาร์เทลที่ประสบผลสำเร็จไม่ว่าจะเป็นแบบเปิดเผยหรือไม่เปิดเผย ต้องร่วมแรงร่วมใจกัน
ประสานกัน และความยินยอมร่วมกันในหมู่สมาชิก ซึ่งหมายความว่าสมาชิกของคาร์เทลจะต้องสามารถตรวจพบเมื่อมี
การฝ่าฝืนข้อตกลงเกิดขึ้นและสามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนได้
11. Collusion (การสมรู้ร่วมคิดกัน)
การสมรู้ร่วมคิดกัน หมายถึง การร่วมมือกัน (combination) การสมคบกัน (conspiracy) หรือ การทำความตก
ลงร่วมกัน (agreement) ในหมู่ผู้ขาย เพื่อที่จะขึ้นราคาสินค้าหรือกำหนดราคาสินค้า และลดผลผลิตเพื่อเพิ่มผลกำไร
การสมรู้ร่วมคิดกันแตกต่างจากคาร์เทล คือ การสมรู้ร่วมคิดกันไม่จำเป็นต้องมีการทำความตกลงร่วมกันอย่างเป็น
ทางการไม่ว่าจะเป็นแบบเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยระหว่างสมาชิก อย่างไรก็ตาม ผลต่อเศรษฐกิจของการสมรู้ร่วมคิดกัน
และคาร์เทลจะเหมือนกัน และมักจะใช้สองคำนี้แทนกันเสมอ องค์กรกำกับดูแลการแข่งขันมองว่า การสมรู้ร่วมคิดกัน
ระหว่างบริษัทที่จะขึ้นราคาสินค้าหรือกำหนดราคาสินค้าและลดผลผลิต เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันที่ร้ายแรง
ที่สุด การสมรู้ร่วมคิดกันจะทำได้ง่าย เมื่อมีผู้ขายน้อยรายและผลิตสินค้าเหมือนกันการสมรู้ร่วมคิดกัน ไม่จำเป็นต้องมี
การทำความตกลงร่วมกันหรือการสื่อสารกันแบบเปิดเผยระหว่างบริษัทในตลาดผู้ขายน้อยราย บริษัทมักจะพึ่งพาอาศัย
กันในการตัดสินใจเรื่องราคาสินค้าและผลผลิต ดังนั้น การดำเนินการของแต่ละบริษัทจะเกิดผลกระทบและก่อให้เกิดการ
ตอบสนองในทางตรงข้ามโดยบริษัทอื่น ในสถานการณ์เช่นนี้ บริษัทอาจพิจารณาพฤติกรรมของคู่แข่งขันและร่วมมือกัน
เป็น คาร์เทลโดยไม่มีการทำความตกลงร่วมกันอย่างเปิดเผยซึ่งพฤติกรรมการร่วมมือกันเช่นนี้เรียกว่า tacit collusion
หรือ conscious parallelism
ปัจจัยที่อาจช่วยให้เกิดการตกลงร่วมกันกำหนดราคา รวมถึง
1) ความสามารถที่จะขึ้นหรือรักษาราคาสินค้า ถ้าหากอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดต่ำหรือมีสินค้าทดแทนอยู่
การสมรู้ร่วมคิดกันจะไม่ประสบผลสำเร็จ และบริษัทไม่มีแรงจูงใจที่จะยังคงสมคบกันหรือเข้าร่วมสมคบกันด้านราคา
2) บริษัทไม่ได้คาดหวังว่า การสมรู้ร่วมคิดกันจะถูกตรวจพบได้ง่ายหรือถูกลงโทษรุนแรง หรือ หากเป็นเช่นนั้น
แล้ว ผลกำไรจากการสมรู้ร่วมคิดกันจะสูงกว่าค่าปรับและสูงกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเสียชื่อเสียงของบริษัทมาก
3) ค่าใช้จ่ายขององค์กรต่ำ ถ้าหากการเจรจาระหว่างบริษัทถูกเลื่อนออกไปและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและ
การตรวจสอบสูง การสมรู้ร่วมคิดกันจะเกิดได้ยาก
4) ผลิตสินค้าที่เหมือนกันหรือคล้ายกันมาก การทำความตกลงร่วมกันให้ราคาเป็นแบบเดียวกันทำได้ยาก ถ้า
หากสินค้าแตกต่างกัน เช่น ในด้านคุณภาพ และความทนทาน ดังนั้น จึงเป็นการยากที่บริษัทจะตรวจพบว่าการ
เปลี่ยนแปลงยอดขาย เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงความชอบของผู้ซื้อหรือการโกงของบริษัทในรูปการขายตัดราคาที่
เป็นความลับ
5) อุตสาหกรรมมีการกระจุกตัวสูงหรือมีบริษัทขนาดใหญ่สองสามราย เมื่อจำนวนบริษัทน้อย ค่าใช้จ่ายในการ
สมรู้ร่วมคิดกันมักจะต่ำ ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการตรวจพบบริษัทซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามราคาที่กำหนดจะสูงขึ้น
6) การมีสมาคมอุตสาหกรรมหรือสมาคมการค้า สมาคมมักจะเป็นแหล่งความร่วมมือในกิจกรรมทางการค้า
และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งอาจช่วยในการสมรู้ร่วมคิดกันซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของ องค์กรและค่าใช้จ่ายในการตรวจ
พบการร่วมมือกัน การสมรู้ร่วมคิดกันไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยปัจจัยทั้งหมดหรือปัจจัยบางประการที่กล่าวถึงข้างต้นใน
ตลาดที่กำหนด นอกจากนี้ มีปัจจัยจำนวนมากซึ่งอาจจำกัดการสมรู้ร่วมคิดกัน เช่น ลักษณะที่ต่างกันของสินค้า ความ
แตกต่างของค่าใช้จ่ายระหว่างบริษัท เงื่อนไขในธุรกิจ การมีลูกค้าที่มีประสบการณ์ในการซื้อมาก การเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยี ความถี่ในการซื้อสินค้า แรงจูงใจที่จะตัดราคากันอย่างลับๆ และส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
12. Combination (การร่วมมือกัน)
การร่วมมือกัน หมายถึง การจับกลุ่มกันเพื่อให้เกิดการผูกขาด คาร์เทล หรือ การทำความตกลงร่วมกัน
เพื่อที่จะขึ้น หรือ กำหนดราคา หรือ จำกัดผลผลิต เพื่อให้ได้กำไรสูงขึ้น ซึ่งคำนี้ใช้แทนได้กับการสมคบกัน (conspiracy)
และการสมรู้ร่วมคิดกัน (collusion) ด้วย
13. Competition (การแข่งขัน)
การแข่งขันเป็นสถานะการณ์ในตลาด ซึ่งบริษัทหรือผู้ขายต่อสู้เพื่อให้ได้ผู้ซื้อเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเฉพาะทาง
ธุรกิจ เช่น กำไร ยอดขาย และ/หรือส่วนแบ่งตลาด การแข่งขันระหว่างบริษัทอาจเกิดขึ้น เมื่อมีบริษัทสองบริษัทหรือ
มากกว่านั้นแข่งขันกันในรูปราคา คุณภาพ บริการหรือปัจจัยข้างต้นรวมกันรวมทั้งปัจจัยอื่นซึ่งมีผลต่อลูกค้า
14. Concentration (การกระจุกตัว)
การกระจุกตัว หมายถึง ระดับซึ่งบริษัทถือครองยอดขาย สินทรัพย์หรือการจ้างงานใน สัดส่วนของยอดรวมของ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในตลาดสินค้าหรือบริการเดียวกัน โดยพิจารณาได้ทั้งการกระจุกตัวของตลาดผู้ซื้อและ/หรือตลาด
ผู้ขาย
15. Conglomerate (การรวมบริษัท)
การรวมบริษัท หมายถึง บริษัทซึ่งมีการดำเนินธุรกิจต่างกันในอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยการรวม
บริษัทอาจเกิดจากการควบรวมธุรกิจ(merger) และการเข้าซื้อกิจการ (acquisition) และการลงทุนข้าม อุตสาหกรรม
ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น การลดความเสี่ยง การเข้าถึงทรัพยากรทางการเงินและการบริหารมากขึ้น การจัดสรรทรัพยากรที่
มีประสิทธิภาพมากขึ้น การรวมบริษัทจะทำให้เกิดการลดการแข่งขันได้ง่ายขึ้น จากการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
ข้ามบริษัทในธุรกิจที่ได้กำไรน้อย เพื่อมุ่งหมายที่จะจำกัดการแข่งขันและการจัดการแบบต่างตอบแทนกับบริษัทที่รวมกัน
อื่นๆ ในการซื้อและขายวัตถุดิบและผลผลิต
16. Conscious Parallelism (การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเป็นแนวเดียวกันและสินค้าเหมือนกัน)
การดำเนินการด้านราคาและผลผลิตของบริษัทหนึ่งในตลาดที่มีผู้ขายน้อยรายมี ผลกระทบอย่างมากต่อการ
ดำเนินการด้านราคาและผลผลิตของบริษัทคู่แข่งขัน บริษัทจะตระหนักถึงความเป็นจริงนี้และจะมีพฤติกรรมร่วมกันโดย
ไม่มีการตกลงที่เปิดเผย ราวกับว่าบริษัทเข้าร่วมในพฤติกรรมการรวมหัวกันหรือคาร์เทลเพื่อกำหนดราคาและจำกัด
ผลผลิต ความกลัวที่จะมีพฤติกรรมแยกจากพฤติกรรมเช่นนี้ อาจนำไปสู่การขายสินค้าตัดราคา การขายสินค้าที่มีกำไร
ลดลงและความไม่คงที่ของส่วนแบ่งตลาด อาจทำให้ผู้อื่นมีแรงจูงใจที่จะรักษาข้อตกลงที่ไม่เปิดเผยนี้ไว้ ราคาที่เป็นแบบ
เดียวกันอาจเป็นผลลัพท์ในตลาดที่มีผู้ขายน้อยรายและมีสินค้าเหมือนกัน แต่การที่มีราคาสินค้าเป็นแนวเดียวกันและ
สินค้าเหมือนกันไม่เพียงพอที่จะระบุว่าเกิดการรวมหัวกัน การทำความตกลงร่วมกันหรือคาร์เทล จะต้องพิจารณาปัจจัย
อื่นที่เกิดจากลักษณะตลาด หรือโครงสร้างอุตสาหกรรมด้วย
17. Consolidation (การควบกิจการโดยการรวมสินทรัพย์)
การควบกิจการโดยการรวมสินทรัพย์โดยทั่วไป กล่าวถึงการร่วมมือกัน (combination) หรือการรวมบริษัท
(amalgamation) ของบริษัทสองบริษัทหรือมากกว่านั้นเป็นบริษัทใหม่จากการถ่ายโอนสินทรัพย์สุทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บริษัทใหม่อาจถูกจัดระบบให้แตกต่างไปจากการการควบรวมธุรกิจ (merger)
18. Conspiracy (การสมคบกัน)
การสมคบกันตามปกติ เป็นการทำความตกลงร่วมกันแบบไม่เปิดเผยหรือเป็นความลับระหว่างบริษัทที่แข่งขัน
กันเพื่อที่จะให้ได้กำไรสูงขึ้น โดยการเข้าร่วมทำความตกลง เพื่อที่จะกำหนดราคาและจำกัดผลผลิต คำว่า การร่วมมือ
กัน (combination) การสมคบกัน (conspiracy) การตกลงร่วมกัน (agreement) และการสมรู้ร่วมคิดกัน (collusion)
มักจะใช้แทนกันได้
19. Control of Enterprise (การมีอำนาจควบคุมบริษัท)
การมีอำนาจควบคุมบริษัท จะเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนหรือกลุ่มนักลงทุนถือหุ้นสามัญที่มีสิทธิออกเสียงมากกว่า
50% ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัท อย่างไรก็ตาม การมีอำนาจควบคุมบริษัท จะมีผลเมื่อนักลงทุนคุมเสียงส่วน
ใหญ่ของผู้ถือหุ้น แม้จะถือหุ้นน้อยกว่า 50% แต่นักลงทุนรายย่อยจำนวนมากยังคงถือหุ้นที่เหลืออยู่ การใช้อำนาจ
ควบคุมบริษัท อาจทำการไขว้คณะกรรมการบริหารและการถือกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างบริษัทเหมือนอย่างในกรณีของการ
รวมบริษัท (conglomerate)
20. Diversification (การกระจายกิจการหรือการลงทุนของธุรกิจ)
การกระจายกิจการหรือการลงทุนของธุรกิจ เป็นการขยายบริษัทในสินค้าหรือตลาดอีกประเภท การกระจาย
กิจการที่สัมพันธ์กัน เกิดขึ้นเมื่อบริษัทขยายเข้าไปในประเภทของสินค้าที่คล้ายกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตรถยนตร์อาจผลิต
ยานพาหนะเพื่อโดยสารและรถบรรทุกเล็ก การกระจายกิจการที่ไม่สัมพันธ์กัน เกิดขึ้นเมื่อผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตอาหาร ผลิตรองเท้าหนังด้วย การกระจายกิจการ อาจเกิดขึ้นด้วยเหตุผลต่างๆ คือ เพื่อการ
ถือเอาประโยชน์จากลักษณะเสริมต่อกันและกันในการผลิตและเทคโนโลยีที่มีอยู่ เพื่อใช้ประโยชน์จากการประหยัดต่อ
ขนาด เพื่อลดความเสี่ยง เพื่อให้รายได้คงที่และเอาชนะสภาวะทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น มีหลักฐานมากมายที่
แสดงว่าการกระจายกิจการที่สัมพันธ์กันอาจมีกำไรมากกว่าการกระจายกิจการที่ไม่สัมพันธ์กัน
21. Divestiture (การขายกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด)
การขายกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด เป็นการซื้อขายส่วนของกิจการ แผนกหรือสาขา การขายกิการบางส่วน
หรือทั้งหมด อาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากบริษัทปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อที่จะมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งหรือตลาดใด
ตลาดหนึ่ง องค์กรกำกับดูแลการแข่งขันอาจบังคับให้ขายกิจการ อันเป็นผลมาจากการควบรวมกิจการหรือการเข้าซื้อ
กิจการ ซึ่งน่าจะจำกัดการแข่งขันอย่างเห็นได้ชัด การขายกิจการในสถานการณ์หลังนี้ มุ่งหมายเพื่อรักษาการแข่งขันที่มี
อยู่ในตลาด การขายกิจการอาจเกิดขึ้นเป็นส่วนของนโยบายเพื่อที่จะลดการกระจุกตัวในอุตสาหกรรม
22. Dominant Firm (บริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด)
บริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด คือ บริษัทซึ่งมีส่วนแบ่งมากในตลาดที่กำหนด และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าคู่แข่ง
ที่ใหญ่เป็นอันดับสองมาก ตามแบบปฏิบัติ ผู้มีอำนาจเหนือตลาดคือผู้ที่มีส่วนแบ่งตลาด 40% หรือมากกว่านั้น บริษัทที่
มีอำนาจเหนือตลาด อาจเพิ่มปัญหาด้านการแข่งขันเมื่อบริษัทมีอำนาจที่จะกำหนดราคาอย่างอิสระ ดังนั้น อุตสาหกรรม
ที่มีบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดมักจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ขายน้อยราย อย่างไรก็ตาม มักจะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สม
ส่วนกันเนื่องจากบริษัทมีขนาดไม่เท่ากัน ตามปกติ บริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดจะมีคู่แข่งขันรายเล็กจำนวนมากและมีผู้
ที่อาจเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก
23. Excess Price (ราคาสินค้าที่สูงเกินไป)
ราคาสินค้าที่สูงเกินไป คือ ราคาที่กำหนดเหนือระดับราคาที่มีการแข่งขัน อันเป็นผลมาจากการผูกขาดหรือ
อำนาจตลาด อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติไม่ปรากฎการสมคบกันหรือการตกลงร่วมกัน กำหนดราคาหรือหลักฐานของ
อำนาจตลาดที่เกิดจากการกระจุกตัวสูง จึงเป็นการยากที่จะกำหนดเกณฑ์ว่าราคาสูงระดับใดจึงถือว่าสูงผิดปกติหรือสูง
โดยไม่สมควร เนื่องจากวิธีการเบื้องต้นในการจัดการผลิตในตลาดใช้ระบบราคา ดังนั้น ความยืดหยุ่นของราคาจึงเป็นสิ่ง
สำคัญ ราคาจะขึ้นลงเพื่อให้อุปสงค์และอุปทานสมดุลกัน การขาดแคลนอุปทานในระยะสั้นหรือการเพิ่มอุปสงค์ จะทำให้
ราคาสูงขึ้นและเกิดแรงจูงใจที่จะผลิตมากขึ้นและผู้จำหน่ายรายใหม่จะเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
24. Export Cartel
Export Cartel เป็นการทำความตกลงร่วมกัน หรือการจัดการระหว่างบริษัที่จะคิดราคาส่งออกเฉพาะและ/หรือ
เพื่อที่จะแบ่งตลาดส่งออก กฎหมายการแข่งขันหลายประเทศ ได้ยกเว้นการทำความตกลงร่วมกันเช่นนี้จากข้อกำหนด
เกี่ยวกับการสมคบกัน โดยเสนอว่า คาร์เทลไม่ได้นำไปสู่ผลที่เป็นอันตรายต่อการแข่งขันในตลาดภายในประเทศ เช่น
นำไปสู่การตกลงร่วมกันกำหนดราคาหรือก่อให้เกิดการลดการส่งออก เหตุผลในการอนุญาตการรวมหัวกันส่งออ กคือ
การตกลงร่วมกันประเภทนี้ จะช่วยในการ่วมกันเข้าแทรกซึมตลาดต่างประเทศ การถ่ายโอนรายได้จากผู้บริโภค
ต่างประเทศไปสู่ผู้ผลิตภายในประเทศและก่อให้เกิดสมดุลทางการค้า
25. Extraterritoriality(การใช้กฎหมายของประเทศหนึ่งภายในเขตอำนาจศาลของอีกประเทศหนึ่ง)
Extraterritoriality จะเกิดขึ้น ถ้าหากการดำเนินธุรกิจของบริษัทในประเทศหนึ่งมีผลลดการแข่งขันในอีกประเทศ
หนึ่ง ซึ่งประเทศนั้นถือว่าฝ่าฝืนกฎหมาย ตัวอย่างเช่น การรวมหัวกันส่งออกโดยบริษัทซึ่งอาจได้รับการยกเว้นจาก
กฎหมายแข่งขันของประเทศ A แต่อาจถูกมองว่า เป็นการทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคาเพื่อจำกัดการแข่งขันใน
ตลาดของประเทศ B และถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายป้องกันการผูกขาดของประเทศ B อีกสถานะการณ์หนึ่งที่อาจ
เกิดขึ้น คือ การรวมธุรกิจระหว่างบริษัทที่แข่งขันกันสองบริษัทในประเทศหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างเห็น
ได้ชัดในตลาดของอีกประเทศหนึ่ง บริษัทอาจฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันของอีกประเทศสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น
เป็นสำคัญ คือ ลักษณะของความสัมพันธ์ของการปกครองระหว่างประเทศ ประเทศที่มีการฝ่าฝืน สถานะทางกฎหมายใน
การดำเนินธุรกิจในประเทศที่มีพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้น และการดำเนินงานของสาขาและสินทรัพย์ในประเทศที่ได้รับ
ผลกระทบซึ่งทำให้เกิดการดำเนินการทางกฎหมาย
26. Failing Firm (บริษัทที่ล้มเหลว)
บริษัทที่ล้มเหลว คือ บริษัทซึ่งมีผลกำไรเป็นลบอย่างต่อเนื่องและเสียส่วนแบ่งตลาดไปจนถึงระดับที่บริษัทน่าจะ
เลิกกิจการ บริษัทที่ล้มเหลวเป็นประเด็นในการวิเคราะห์การควบรวมธุรกิจ เมื่อบริษัทที่เข้าซื้อได้โต้แย้งว่าการซื้อบริษัท
เช่นนี้จะไม่ทำให้เกิดผลลดการแข่งขันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากบริษัทนั้นน่าจะออกไปจากตลาดแล้ว ถ้าหากเป็นจริง
เช่นนั้นส่วนแบ่งตลาด "ในขณะนี้" ของบริษัทที่ล้มเหลวอาจไม่มี"นัย" ต่อการแข่งขันในอนาคต
27. Franchising (การทำความตกลงแฟรนไชส์)
การทำความตกลงแฟรนไชส์ เป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งระหว่างสองบริษัทที่เป็น "ผู้ให้ แฟรนไชส์
(franchisor)" และ "ผู้รับแฟรนไชส์ (franchisee)" โดยทั่วไปสองบริษัทมีสัญญากันว่า ผู้ให้แฟรนไชส์จะขายสินค้า
เครื่องหมายการค้า หรือวิธีการทางธุรกิจและบริการที่ได้รับการตรวจสอบให้แก่ผู้รับแฟรนไชส์แต่ละราย เพื่อแลกกับ
ชื่อเสียงของบริษัทและการจ่ายเงิน สัญญาอาจครอบคลุมถึงราคาสินค้า การโฆษณา สถานที่ ประเภทของร้านจัด
จำหน่าย พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น การทำความตกลงแฟรนไชส์โดยทั่วไป อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายการแข่งขัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการจำกัดในแนวดิ่ง ข้อตกลงแฟรนไชส์อาจช่วยให้การเข้าสู่ตลาดของบริษัทหรือ
สินค้าใหม่ทำได้ง่ายขึ้นและเกิดประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงแฟรนไชส์ในบางสถานะการณ์
อาจลดการแข่งขันด้วย
28. Free Rider หรือ Free Riding (การใช้ประโยชน์จากการส่งเสริมการขายของผู้อื่น)
Free Rider หรือ Free Riding เกิดขึ้นเมื่อบริษัทหนึ่งได้รับผลประโยชน์จากการกระทำและความพยายามของอีก
บริษัทโดยไม่มีการจ่ายหรือแบ่งปันค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีกอาจเลือกที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกหัดพนักงาน
เพื่อสาธิตให้ผู้ที่เป็นลูกค้ารู้ถึงวิธีการทำงานของเครื่องใช้ในครัวโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขาย อย่างไรก็ตาม
ต่อมาลูกค้าอาจเลือกที่จะซื้อสินค้าจากผู้ค้าปลีกรายอื่นซึ่งขายสินค้าราคาต่ำกว่า เนื่องจากกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ
ของบริษัทไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกหัดพนักงานและการสาธิต ผู้ค้าปลีกรายที่สองนี้ถือว่าเป็น "Free‐riding" ของ
ผู้ค้าปลีกรายแรก ถ้าหากสถานะการณ์เช่นนี้ยังคงอยู่ผู้ค้าปลีกรายแรกจะไม่มีแรงจูงใจที่จะดำเนินการสาธิตสินค้าต่อไป
29. Holding Company (บริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อมาควบคุมการเงินของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว)
บริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อมาควบคุมการเงินของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วซึ่งเป็นบริษัทที่ใช้เงินทุนเพียงอย่างเดียว
เพื่อให้ได้ประโยชน์จากบริษัทที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่ แม้ว่าวัตถุประสงค์หลักของบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อมาควบคุมการเงินของ
บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วมิใช่เพื่อดำเนินการ แต่โดยทั่วไปจะมีผู้แทนของบริษัท holdingเข้าไปเป็นคณะ
กรรมการบริหารบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่
30. Homogeneous Product (ผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน)
ผลิตภัณฑ์จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันได้ เมื่อทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ และผู้ซื้อไม่เห็นความแตกต่าง
ระหว่างผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายโดยบริษัทที่ต่างกัน ราคาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดประการเดียว ซึ่งบริษัทที่ผลิตสินค้าที่เหมือนกัน
แข่งขันกัน อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์แสดงว่าเมื่อบริษัทเช่นนี้มีจำนวนน้อย การมีผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันอาจช่วยให้
การรวมหัวกันทำได้ง่าย และการทำความตกลงร่วมกันอาจพบในผลิตภัณฑ์ เช่น ซีเมนต์ แป้ง เหล็ก และน้ำตาล
31. Interlocking Directorate (คณะกรรมการบริหารไขว้)
คณะกรรมการบริหารไขว้ เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเดียวกันอยู่ในคณะกรรมการบริหารของสองบริษัทหรือหลายบริษัท
ซึ่งการไขว้คณะกรรมการบริหารอาจทำเพื่อประสานการทำงานหรือลดการช่วงชิงระหว่างบริษัท
32. Joint Venture (การร่วมลงทุน)
เป็นการร่วมกันของบริษัทหรือบุคคลที่เกิดขึ้นเพื่อทำโครงการธุรกิจเฉพาะ การร่วมลงทุน คล้ายกับ
ความสัมพันธ์ที่เป็นหุ้นส่วนกัน แต่จำกัดอยู่กับโครงการจำเพาะ (เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะ หรือการทำวิจัยเฉพาะ
เรื่อง)การร่วมลงทุนอาจเป็นประเด็นการแข่งขันเมื่อเกิดขึ้นโดยบริษัทที่แข่งขันกันอยู่ ตามปกติ พิจารณาการร่วมลงทุน
บนหลักฐานที่ว่า โครงการจำเพาะนั้นมีความเสี่ยงหรือต้องการเงินทุนจำนวนมาก ดังนั้น การร่วมลงทุนจึงเป็นเรื่อง
ธรรมดาในอุตสาหกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรเมื่อค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงและมีโอกาสที่จะล้มละลายสูงเช่นกัน การร่วม
ลงทุนนี้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
33. Market (ตลาด)
ตลาด คือที่ ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายทำธุรกรรมในธุรกิจเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเฉพาะ และราคาของสินค้า
และบริการเหล่านี้มักจะเท่าเทียมกัน ตลาดอาจมีขอบเขตเป็นในท้องถิ่น ในภูมิภาค ประเทศหรือระหว่างประเทศ และไม่
จำเป็นที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมาพบกันหรือมีการสื่อสารกันโดยตรง ธุรกิจอาจทำการซื้อขายโดยใช้ตัวกลางด้วยก็ได้
34. Market Definition (คำจำกัดความของตลาด)
จุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์การแข่งขันประเภทใด คือ คำจำกัดความของตลาด "ที่เกี่ยวเนื่อง" คำจำกัดความ
ของตลาดมี 2 ลักษณะคือ (1) ตลาดสินค้า นั่นคือกลุ่มสินค้า และ (2) ตลาดในเชิงภูมิศาสตร์ นั่นคือ กลุ่มพื้นที่ทาง
ภูมิศาสตร์ คำจำกัดความของตลาด จะพิจารณาทั้งอุปสงค์และอุปทาน ด้านอุปสงค์ สินค้าจะต้องทดแทนกันได้จาก
มุมมองของผู้ซื้อ ด้านอุปทาน ผู้ขายจะต้องรวมถึงผู้ซื้อมาผลิตหรือสามารถเปลี่ยนการผลิตไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
หรือทดแทนกันได้ คำจำกัดความของตลาดโดยทั่วไป รวมถึงผู้ขายจริงและผู้ขายที่อาจเป็นไปได้ นั่นคือ บริษัทสามารถ
เปลี่ยนกระบวนการผลิตอย่างรวดเร็วเพื่อจำหน่ายสินค้าที่ทดแทนกันถ้าหากราคาสมเหตุสมผล ซึ่งบริษัทเหล่านี้มักจะลด
ความสามารถในการผลิตที่มีอยู่ในตลาดเพื่อที่จะขึ้นราคาสินค้าเหนือระดับที่มีการแข่งขัน สถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายถือว่า
เป็นตลาดในเชิงภูมิศาสตร์อาจเป็นในท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศหรือระหว่างประเทศ ถ้าหากตลาดถูกกำหนดแคบเกินไป
ในแง่ของสินค้าหรือภูมิศาสตร์ อาจไม่รวมการแข่งขันเข้าไปในการวิเคราะห์ อีกประการหนึ่งถ้าหากตลาดสินค้าและ
ภูมิศาสตร์ถูกกำหนดกว้างเกินไป ระดับการแข่งขันอาจเกินไปจากความเป็นจริง คำจำกัดความตลาดที่กว้างเกินไปหรือ
แคบเกินไปจะนำไปสู่การวัดส่วนแบ่งตลาดและการกระจุกตัวที่ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป
35. Market Power (อำนาจตลาด)
อำนาจตลาด คือ ความสามารถของบริษัท (หรือกลุ่มบริษัท) ที่จะขึ้นหรือรักษาราคาเหนือระดับที่น่าจะเป็น
หากมีการแข่งขัน การใช้อำนาจตลาดจะนำไปสู่ผลผลิตที่ลดลงและการสูญเสียทางเศรษฐกิจ แม้ว่ามีการเสนอคำจำกัด
ความทางเศรษฐศาสตร์ของอำนาจตลาดที่ถูกต้อง แต่การวัดอำนาจตลาดที่แท้จริงไม่ใช่วิธีที่ง่าย การใช้อำนาจตลาดที่
เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้นจะถูกใช้เพื่อหาว่ามีการทำให้การแข่งขันลดลงอย่างเห็นได้ชัดเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นหรือไม่
วิธีการนี้นำมาใช้ในการบริหารนโยบาย การควบรวมกิจการในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พยายามที่จะ
คาดการณ์ว่าหลังการควบรวมกิจการ บริษัทสามารถขึ้นราคาในระยะเวลาหนึ่งเหนือระดับเกณฑ์ที่กำหนด (เช่น 5 หรือ
10%) ได้หรือไม่ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่กรณีโดยไม่จูงใจให้บริษัทใหม่เข้าสู่ตลาดหรือผลิตสินค้าทดแทน
36. Market Share (ส่วนแบ่งตลาด)
ส่วนแบ่งตลาด เป็นการวัดขนาดของบริษัทในอุตสาหกรรมหรือตลาดในแง่ของสัดส่วนของผลผลิตหรือยอดขาย
หรือความสามารถในการผลิตทั้งหมด นอกจากกำไรแล้ว วัตถุประสงค์ทางธุรกิจของบริษัทที่อ้างถึงเสมอ คือ การเพิ่ม
ส่วนแบ่งตลาด ส่วนแบ่งตลาด กำไรและการประหยัดต่อขนาดมักจะสัมพันธ์กันในเชิงบวก และส่วนแบ่งตลาดที่สูงอาจทำ
ให้บริษัทมีอำนาจตลาด
37. Merger (การควบรวมกิจการ)
การควบรวมกิจการ คือ การรวมบริษัท (amalgamation) หรือการรวมกันของสองบริษัทหรือมากกว่านั้นเป็น
บริษัทที่มีอยู่แล้วหรือเกิดเป็นบริษัทใหม่ การควบรวมกิจการ เป็นวิธีการซึ่งบริษัทอาจเพิ่มขนาดหรือขยายเข้าไปในตลาด
ที่มีอยู่แล้วหรือตลาดใหม่ อาจมีแรงจูงใจต่างๆสำหรับการควบรวมกิจการ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้ได้อำนาจ
ตลาด เพื่อกระจาย หรือขยายเข้าไปในตลาดภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงินและการวิจัย
และพัฒนา เป็นต้นการควบรวมกิจการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
(1) การควบรวมกิจการในแนวนอน (Horizontal Merger) การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทซึ่งผลิตและขาย
สินค้าเหมือนกัน นั่นคือ ระหว่างบริษัทที่แข่งขันกัน การควบรวมกิจการในแนวนอน ถ้าหากมีผลต่อขนาดอาจลดการ
แข่งขันในตลาดแล้ว องค์กรกำกับดูแลการแข่งขันมักจะทบทวนอีกครั้ง การควบรวมกิจการในแนวนอน อาจถูกมองเป็น
การรวมกันในแนวนอนของบริษัทในตลาดหรือข้ามตลาด
(2) การควบรวมกิจการในแนวดิ่ง (Vertical Merger) การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทซึ่งดำเนินการใน
ขั้นตอนการผลิตที่ต่างกัน เช่น จากวัตถุดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อการจัดจำหน่าย ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเหล็กกล้า
ควบกิจการกับผู้ผลิตแร่เหล็ก ตามปกติการควบรวมกิจการในแนวดิ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพ แม้ว่าบางครั้งจะมีผลลดการ
แข่งขัน
(3) การควบรวมกิจการแบบผสม (Conglomerate Merger) การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทในธุรกิจที่ไม่
เกี่ยวข้อง เช่นระหว่างผู้ผลิตรถยนตร์และบริษัทผลิตอาหาร
38. Monopolization (การมีอำนาจผูกขาด)
การมีอำนาจผูกขาด คือ ความพยายามโดยบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดหรือกลุ่มของบริษัทที่ค่อนข้างใหญ่
เพื่อที่จะรักษาหรือเพิ่มการควบคุมตลาด โดยอาศัยพฤติกรรมที่ลดการแข่งขันต่างๆ เช่นการขายสินค้าตัดราคา ให้สิทธิ
ในการซื้อก่อน (pre‐emption of facility) และการจำกัดสิทธิ์ในการแข่งขัน
39. Monopoly (การผูกขาด)
การผูกขาด คือ สถานะการณ์ซึ่งมีผู้ขายรายเดียวในตลาด ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจทั่วไป ถือว่าการผูกขาด
ตรงข้ามกับการแข่งขันที่สมบูรณ์ จากการเปรียบเทียบการผูกขาดและการแข่งขันสมบูรณ์ ผลแสดงว่าผู้ผูกขาดจะกำหนด
ราคาสินค้าสูงขึ้น ผลผลิตต่ำลงและมีกำไรเหนือระดับปกติ การผูกขาดแตกต่างจากอำนาจตลาด โดยอำนาจตลาดคือค่า
ซึ่งกล่าวถึงสถานการณ์ซึ่งบริษัทเผชิญกับเส้นอุปสงค์ขาลงและอาจขึ้นราคาเหนือระดับราคาแข่งขัน อำนาจตลาดอาจ
เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เมื่อมีการผูกขาด แต่เมื่อมีผู้ขายน้อยรายมีการแข่งขันกึ่งผูกขาดหรือมีบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดด้วย
การผูกขาดอาจจะยังคงมีอยู่ถ้าหากมีอุปสรรคการเข้าสู่ตลาด ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวอาจร่วมกับการคุ้มครองทางกฎหมายที่
เกิดจากลิขสิทธิ์และแฟรนไชส์ที่ผูกขาด
40. Non‐Price Predation (การกำหนดเงื่อนไขจำกัดที่ไม่ใช่ด้านราคา)
การกำหนดเงื่อนไขจำกัดที่ไม่ใช่ด้านราคา เป็นรูปแบบของกลยุทธ์ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของคู่แข่งขัน ซึ่งมักจะ
เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและมีกำไรมากกว่าการขายตัดราคากัน วิธีที่เป็นแบบปฏิบัติรวมถึงการใช้กระบวนการทาง
กฎหมายหรือรัฐบาลเพื่อให้คู่แข่งขันเสียเปรียบ
41. Oligopoly (ตลาดผู้ขายน้อยราย)
ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย คือ ตลาดที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันด้านนโยบายการตั้งราคาและผลผลิต จำนวนของผู้ขายมี
น้อยรายจนทำให้ผู้ขายแต่ละรายมีอำนาจตลาดการผูกขาด โดยผู้ขายน้อยรายแตกต่างจากตลาดสมบูรณ์ เนื่องจากผู้ขาย
แต่ละรายในตลาดต้องพึ่งพาอาศัยกันและแตกต่างจากการแข่งขันกึ่งผูกขาด โดยผู้ขายสามารถควบคุมราคาสินค้า และ
แตกต่างจากการผูกขาดโดยผู้ขายที่ผูกขาดจะไม่มีคู่แข่งขัน โดยทั่วไปแล้วการวิเคราะห์การผูกขาดโดยกลุ่มผู้ขายน้อยราย
จะสนใจที่ผลของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างบริษัทในการตัดสินใจเรื่องราคาและผลผลิต
42. Perfect Competition (การแข่งขันสมบูรณ์)
การแข่งขันสมบูรณ์ประกอบด้วยเงื่อนไข 4 ประการ คือ
(1) มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากและไม่มีผู้ใดที่มีผลต่อราคา
(2) ในระยะยาวมีการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบในการผลิตอย่างเสรีไม่มีอุปสรรคในการเข้าและออกจากตลาด
(3) ผู้ซื้อและผู้ขายทั้งหมดในตลาด จะต้องได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการผลิตและบริโภคอย่าง
เต็มที่
(4) ผลิตภัณฑ์ควรเหมือนกัน
43. Price Discrimination (การเลือกปฏิบัติด้านราคา)
การเลือกปฏิบัติด้านราคา เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อในตลาดที่ต่างกันต้องซื้อสินค้าหรือบริการที่เหมือนกันในราคา
ต่างกันด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ใช่ต้นทุน การเลือกปฏิบัติด้านราคา จะมีผลถ้าหากลูกค้าไม่สามารถทำกำไรจากการขายสินค้า
หรือบริการให้แก่ลูกค้าอื่น การเลือกปฏิบัติด้านราคาอาจมีหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงการกำหนดราคาที่แตกต่างกันสำหรับ
กลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน ในบริเวณที่ต่างกันและประเภทของผู้ใช้ที่ต่างกัน
44. Price Fixing Agreement (การทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคา)
เป็นการทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคาระหว่างผู้ขายเพื่อจำกัดการแข่งขันระหว่างบริษัทและทำให้มีกำไรสูงขึ้น
การทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคาเกิดจากบริษัทพยายามที่จะมีพฤติกรรมผูกขาด
45. Price Leadership (การเป็นผู้นำด้านราคา)
ราคาและการเปลี่ยนแปลงราคาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด หรือบริษัทอื่นที่ได้รับ
การยอมรับให้เป็นผู้นำและมีบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเป็นผู้ตาม เมื่อการเป็นผู้นำด้านราคาสินค้าเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการ
สมรู้ร่วมคิดกันทำได้ง่ายขึ้น ผู้นำด้านราคามักจะกำหนดราคาสูง จนบริษัทที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดในตลาดอาจมีผล
กำไรเหนือระดับราคาที่มีการแข่งขัน
46. Product Differentiation (ความแตกต่างของสินค้า)
สินค้าจะมีความแตกต่างกันเมื่อมีลักษณะทางกายภาพ คุณภาพ ความทนทาน หรือการบริการ ภาพลักษณ์
และสถานที่ทางภูมิศาสตร์ต่างกัน บริษัทที่มีการโฆษณาหรือกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อให้สินค้าของตนมีความ
แตกต่าง ความแตกต่างของสินค้าอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด แต่อาจช่วยให้การแทรกเข้าตลาดทำได้ง่ายขึ้น
โดยบริษัทที่มีสินค้าซึ่งผู้ซื้ออาจชอบมากกว่าสินค้าที่มีอยู่ ควรสังเกตว่าสินค้าที่มีความแตกต่าง (differentiated
products) ไม่เหมือนกับ สินค้าที่มีคุณสมบัติต่างกัน (heterogeneous product) เนื่องจากสินค้าที่มีคุณสมบัติแตกต่าง
กันหมายถึงสินค้าที่ต่างกันและทดแทนไม่ได้ง่าย ในขณะที่สินค้าที่แตกต่างกัน (differential product) สามารถทดแทน
กันได้บางระดับ
47. Reciprocity (ความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนกัน)
ความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนกัน เป็นรูปแบบหนึ่งของการตกลงร่วมกันสองฝ่าย (หรือหลายฝ่าย) ระหว่าง
บริษัทเพื่อที่จะเอื้อต่อกันและกันในเรื่องของการซื้อและขายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งอาจมีผลจำกัดการแข่งขัน และ/
หรือป้องกันการเข้าสู่ตลาดของบริษัท การจัดการแบบต่างตอบแทนกัน ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ
ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันและกันอาจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัท โดยการรับรองว่าสัญญาจะสมบูรณ์หรือไม่ โดยการช่วย
ให้การขายสินค้าตัดราคาที่เป็นความลับทำได้ง่ายขึ้น (secret price‐cutting)
48. Recommended or Suggested Price (ราคาแนะนำ)
ผู้จำหน่ายอาจเสนอแนะหรือแนะนำราคาสินค้าที่ขายปลีกในหลายอุตสาหกรรม บางกรณีผู้จำหน่ายอาจ
กำหนดราคาสินค้า "ที่สูงที่สุด" เพื่อขัดขวางผู้ค้าปลีกจากการขึ้นราคาสินค้า เพื่อที่จะเพิ่มส่วนต่างของผลกำไรและลด
ยอดขายทั้งหมด พฤติกรรมเช่นนี้อาจเกิดขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการฝ่าฝืนกฎหมายการกำหนดราคาขายปลีก ซึ่งเป็นการ
จำกัด และพยายามกำหนดราคาขายที่ต่ำที่สุดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายของหลายประเทศ
49. Refusal to deal/sell (การปฏิเสธที่จะทำธุรกรรมด้วย)
การปฏิเสธที่จะจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ตามปกติ คือ ผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่งซึ่งทำเพื่อบังคับผู้ค้าปลีกให้ร่วมใน
การกำหนดราคาขายต่อ เช่น ไม่ลดราคาสินค้าหรือสนับสนุนไม่ให้ผู้ซื้ออื่นเข้าร่วมกิจกรรมหรือขายสินค้าให้แก่ลูกค้า
เฉพาะรายหรือเฉพาะพื้นที่ การปฏิเสธที่จะทำธุรกรรมด้วยอาจเกิดขึ้นได้ถ้าหากผู้ซื้อมีเครดิตไม่ดีและมีความเสี่ยง เก็บ
สินค้าคงคลังไม่เพียงพอหรือบริการการขาย การโฆษณา และการจัดวางสินค้าไม่ดีพอ เป็นต้น ผลกระทบทางการแข่งขัน
ในการปฏิเสธที่จะทำธุรกรรมด้วยต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
50. Resale Price Maintenance (การกำหนดราคาขายต่อ)
ผู้จำหน่ายซึ่งกำหนดราคาที่ต่ำที่สุด (หรือสูงที่สุด)ซึ่งจะต้องขายต่อให้ผู้บริโภค จากมุมมองด้านนโยบายการ
แข่งขัน การกำหนดราคาขายที่ต่ำที่สุด จะเป็นปัญหาและมีการโต้แย้งว่า การรักษาระดับราคาขายจะทำให้ผู้จำหน่าย
สามารถควบคุมตลาดสินค้าได้ รูปแบบของการกำหนดราคาในแนวดิ่ง อาจป้องกันไม่ให้ส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีก
และราคาขายส่งลดลง หากมีการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ได้มีการโต้แย้งว่า ผู้จำหน่ายอาจต้องการปกป้องชื่อเสียง หรือ
ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และป้องกันจากการที่ผู้ค้าปลีกนำไปใช้เสมือนผู้นำในการขาดทุนเพื่อที่จะดึงลูกค้า เช่นเดียว
กัน โดยการรักษาส่วนต่างของกำไรจากการกำหนดราคาขายปลีก ผู้ค้าปลีกอาจมีแรงจูงใจที่จะใช้ค่าใช้จ่ายด้านบริการ
มากขึ้น ลงทุนในสินค้าคงคลัง โฆษณาและเข้าร่วมในความพยายามอื่นๆ ที่จะเพิ่มความต้องการสินค้าต่อผลประโยชน์
รวมทั้งของผู้จำหน่ายและผู้ค้าปลีก การกำหนดราคาขายปลี กอาจใช้เพื่อป้องกันผู้ค้าปลีกจากการเอาเปรียบ (free
riding) โดยผู้ค้าปลีกที่แข่งขันกัน ซึ่งแทนที่จะเสนอราคาสินค้าที่ต่ำลง และใช้เวลา เงินและความพยายามในการส่งเเสริม
และอธิบายความซับซ้อนทางเทคนิค หรือการมีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ผู้ค้าปลีกรายหนึ่งอาจไม่ลดราคา
สินค้า แต่จะสาธิตและแสดงให้ผู้บริโภคที่ใช้สินค้าที่ซับซ้อนดู เช่น คอมพิวเตอร์ หลังจากที่ลูกค้าได้ข้อมูลนี้ เลือกที่จะซื้อ
คอมพิวเตอร์จากผู้ค้าปลีกซึ่งขายคอมพิวเตอร์ในราคาต่ำ และไม่เสนอการสาธิตหรือแสดงการใช้ให้ดู ในหลายประเทศ
การรักษาระดับราคาขายต่อ เป็นความผิดโดยไม่ต้องพิสูจน์แต่มีข้อยกเว้นบางกรณีหรือบางสินค้า
51. Restriction on Exportation (การจำกัดการส่งออก)
การจำกัดการส่งออก คือ การจำกัดความสามารถในการส่งออกของบริษัท การจำกัดเช่นนี้อาจมาจากรัฐบาล
ตามปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องหรือรักษาทรัพยากรที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับคืนใหม่ได้ หรือสมบัติอันล้ำค่าทาง
วัฒนธรรม ซึ่งอาจมาจากข้อตกลงระหว่างบริษัท เพื่อจำกัดการส่งออกที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการคาร์เทล การจำกัดนี้
อาจเกิดจากการตกลงร่วมกันที่ประเทศที่นำเข้าเจรจาต่อรอง เช่น ในกรณีของการจำกัดการส่งออกรถยนตร์ญี่ปุ่นไปยัง
ประเทศสหรัฐแบบเต็มใจ สุดท้ายการจำกัดการส่งออก อาจเป็นการจัดการใบอนุญาต ซึ่งบริษัทที่ให้ใบอนุญาตจะไม่
อนุญาตให้ส่งออกสินค้าแข่งขันกับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตอื่นๆ หรือบริษัทซึ่งขายใบอนุญาต
52. Restriction of Importation (การจำกัดการนำเข้า)
ตามปกติเป็นมาตรการของรัฐบาล ซึ่งจำกัดความสามารถของผู้ที่เข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการนำเข้า เช่น
ภาษีนำเข้า โควต้า และการจำกัดการส่งออกแบบสมัครใจ โดยภาษีนำเข้า ทำให้สินค้านำเข้าแพงกว่าสินค้า
ภายในประเทศ ส่วนโควต้าส่งผลกระทบต่อการนำเข้าโดยตรง โดยกำหนดจำนวนหน่วยที่มาจากต่างประเทศ และ
สำหรับการจำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ ส่วนใหญ่กำหนดตามประเทศสหรัฐอเมริกา คล้ายกับโควต้าคือจำกัดปริมาณ
แต่แตกต่างจากโควต้าคือกำหนดด้านเดียวโดยประเทศนำเข้า นอกจากนี้ ยังเป็นการตกลงโดยประเทศส่งออกที่จะ
ป้องกันการกำหนดภาษีนำเข้า และ/หรือ โควต้า
53. Rule of Reason (หลักการพิจารณาเหตุผล)
หลักการพิจารณาเหตุผล เป็นวิธีการทางกฎหมายขององค์กรกำกับดูแลการแข่งขันหรือศาล ซึ่งพยายามที่จะ
ประเมินลักษณะที่ส่งเสริมการแข่งขัน (pro‐competitive) ในการปฏิบัติที่เป็นการจำกัดการค้าต่อผลที่ต่อต้านการแข่งขัน
เพื่อที่จะตัดสินว่าควรห้ามการปฏิบัติดังกล่าวหรือไม่ การจำกัดการตลาดซึ่งมีหลักฐานว่าทำให้เกิดประเด็นด้านการ
แข่งขัน อาจพบจากการตรวจสอบเพิ่มเติมว่ามีประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตอาจจำกัดการ
จำหน่ายสินค้าในตลาดเชิงภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันกับผู้ค้าปลีกที่มีอยู่ เพื่อที่จะให้ได้กำไรสูงขึ้นและมีแรงจูงใจที่จะ
โฆษณาสินค้าและให้บริการแก่ลูกค้าดีขึ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการขยายอุปสงค์ในสินค้าของผู้ผลิต มากกว่าการเพิ่ม
ปริมาณที่ปริโภคในราคาที่ต่ำลง คำตรงข้ามกับ Rule of Reason ได้แก่ การปฏิบัติทางธุรกิจที่มีความผิดโดยไม่ต้อง
พิสูจน์per se illegal เช่น การตกลงเพื่อกำหนดราคาและการรักษาราคาขายต่อ เป็นต้น
54. Selling Below Cost (การขายต่ำกว่าทุน)
การขายที่ต่ำกว่าทุนเป็นการปฏิบัติซึ่งบริษัทขายสินค้าต่ำกว่าต้นทุนในการผลิต หรือซื้อเพื่อกำจัดคู่แข่งขันและ/
หรือเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด การปฏิบัตินี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจบางรายมีเงินทุนมาก หรือมีการชดเชยข้าม
ผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้กำไรที่ได้มาจากการขายสินค้าอื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาว่าการขายผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่าต้นทุนเป็นไปได้
ในทางเศรษฐกิจในระยะยาวหรือไม่เพราะบริษัทอาจมีต้นทุนสูงในขณะเดียวกันต้องสูญเสียกำไรที่ควรจะได้รับ
55. Shared or Joint Monopoly (การผูกขาดร่วม)
การผูกขาดร่วมเป็นพฤติกรรมการต่อต้านการแข่งขัน เพื่อที่จะรักษาผลกำไรจากการผูกขาดสำหรับบริษัทที่เป็น
กลุ่ม การผูกขาดร่วมต้องมีการรวมหัวกันบางรูปแบบ แต่ไม่ใช่การตกลงร่วมกันแบบคาร์เทลที่เป็นทางการ ดังนั้น การ
ผูกขาดร่วมจึงคล้ายกับ tacit collusion
56. Shipping Conference (การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ)
การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ กล่าวถึงบริษัทเดินเรือที่รวมตัวในรูปสมาคมเพื่อที่จะตกลงและ
กำหนดค่าระวางสินค้าและค่าธรรมเนียมกับลูกค้าตลอดเส้นทางการขนส่งที่แตกต่างกัน การตกลงทางการขนส่งสินค้า
ทางเรือ นอกจากจะกำหนดอัตราค่าขนส่งแล้ว ยังมีนโยบายมากมายเช่น การจัดสรรลูกค้า สัญญาที่เปิดกว้างด้านราคา
เป็นต้น ก่อนหน้านี้ การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือได้รับการยกเว้นจากกฎหมายการแข่งขันในหลายๆ ประเทศ
แต่ขณะนี้ได้มีการห้ามการตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ เพื่อเป็นการส่งเสริมการแข่งขันและให้ทางเลือกแก่ผู้ส่งออก
มากขึ้น
57. Takeover (การครอบครองกิจการ)
การครอบครองกิจการเป็นการเข้าซื้อกิจการ โดยการที่บุคคลหรือกลุ่มนักลงทุนเพื่อหวังควบคุมบริษัท การ
ครอบครองกิจการ ตามปกติเกิดจากการซื้อหุ้นตามราคาที่สูงกว่าราคาในใบหุ้นและอาจให้เงินช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งรวมถึง
การจ่ายเงินสด และ/หรือการให้หุ้นของบริษัทเป้าหมาย คำว่าการควบรวมกิจการ การเข้าซื้อกิจการ และการครอบครอง
กิจการมักจะใช้แทนกันและมีความแตกต่างระหว่างคำเหล่านี้น้อยมาก การครอบครองกิจการอาจเป็นการครอบครอง
ทั้งหมดหรือบางส่วนและไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานรวมของบริษัท
ที่ต้องการรวมกับบริษัทเป้าหมาย
58. Tied Selling (การขายพ่วง)
การขายพ่วง เป็นสถานะการณ์ซึ่งการขายสินค้าชนิดหนึ่งพร้อมมีเงื่อนไขในการซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่ง และคล้าย
กับ full‐ line forcing ซึ่งผู้ขายบังคับให้ผู้ซื้อที่สนใจสินค้าประเภทหนึ่งเฉพาะต้องซื้อสินค้าทุกประเภท การขายพ่วง
บางครั้งเป็นวิธีการเลือกปฏิบัติด้านราคา การขายพ่วงอาจเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน เนื่องจากการขายพ่วงอาจจำกัด
โอกาสสำคัญของบริษัทอื่นที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หรืออาจเพิ่มอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดสำหรับบริษัทที่ไม่ได้ขาย
สินค้าทุกประเภท การขายพ่วงอาจเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ลดต้นทุนการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า (line of
products) และเป็นการรับรองว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าประเภทเดียวกันที่ใช้เสริมกับสินค้านั้นด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิต
คอมพิวเตอร์กำหนดให้ซื้อแผ่นดิสก์ด้วย เพื่อป้องกันความเสียหายหรือความด้อยประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการใช้
แผ่นดิสก์ที่มีคุณภาพต่ำกว่า การพิจารณาการขายพ่วงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะมีเหตุผลทาง
ธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์จึงใช้หลักของเหตุผลในการพิจารณาการขายพ่วง
59. Vertical Integration (การรวมกันในแนวดิ่ง)
การรวมกันในแนวดิ่ง หมายถึง กรรมสิทธิ์หรือการควบคุมโดยบริษัทในขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกัน เช่น
บริษัทกลั่นปิโตรเลี่ยมเป็นเจ้าของโรงเก็บปิโตรเลี่ยมและเครือข่ายการจัดจำหน่ายปลีกน้ำมันเบนซีน ซึ่งเป็นธุรกิจปลาย
น้ำ ในขณะเดียวกันเป็นเจ้าของบ่อน้ำมันดิบและท่อน้ำมันซึ่งเป็นธุรกิจต้นน้ำ การรวมกันแบบ forward integration คือ
การรวมกันจากขั้นตอนการผลิตไปยังขั้นตอนการจัดจำหน่าย ในขณะที่การรวมกันแบบ backward integration คือ การ
รวมกันจากขั้นตอนการผลิตไปยังขั้นตอนวัตถุดิบ การรวมกันในแนวดิ่งอาจเกิดจากการลงทุนใหม่ๆ และ/หรือการควบ
รวมกิจการในแนวดิ่ง และการเข้าซื้อบริษัทที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตที่ต่างกัน ประโยชน์ที่ได้จากการรวมกันในแนวดิ่ง คือ
ประสิทธิภาพและต้นทุนในการทำธุรกรรมที่ต่ำที่สุด
60. Vertical Restraints (การจำกัดในแนวดิ่ง)
การจำกัดในแนวดิ่งกล่าวถึงการปฏิบัติการบางประเภทในการขายต่อของผู้ผลิตหรือ ผู้จำหน่ายสินค้า เช่น การ
กำหนดราคาขายต่อ การจำกัดสิทธิ์ในการทำธุรกรรมกับบุคคลที่สามและการจำกัดเขตการขายหรือการจำกัดตลาดเชิง
ภูมิศาสตร์ การจำกัดไม่ให้ทำธุรกรรมกับบุคคลที่สามและ/หรือการแบ่งเขตการขาย ผู้จัดจำหน่ายรายเดียวเป็นผู้ที่ได้
สิทธิ์จากผู้ผลิตที่จะจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในกรณีนี้ อำนาจตลาดของผู้จัดจำหน่ายถูกจำกัดโดยการแข่งขันระหว่างตรา
สินค้า วัตถุประสงค์ของผู้ผลิตคือเพื่อให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้จัดจำหน่ายในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์และเสนอบริการที่ดีขึ้น
ให้แก่ลูกค้า
ที่มา : http://www.dit.go.th/songserm/kangkun1.html
กันยายน 2544

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น